การพัฒนาบทเรียนบนเว็บ วิชาปฏิบัติงานเครื่องยนต์เล็กและจักรยานยนต์ เรื่อง ระบบฉีดเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์รถจักรยานยนต์ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี

Main Article Content

เอกราช ไชยเพีย
ไตรทศ แก้วเหง้า
อนุมัติ ศิริเจริญพานิชย์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและพัฒนาบทเรียนบนเว็บ เรื่อง ปฏิบัติงานรถจักรยานยนต์ ที่มีคุณภาพ และประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนโดยบทเรียนบนเว็บ เรื่องปฏิบัติงานรถจักรยานยนต์ ก่อนเรียนและหลังเรียน 3)  ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนบนเว็บที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (วิทยาเขต ขอนแก่น) คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้สำหรับการวิจัยประกอบด้วย บทเรียนบนเว็บ แบบประเมินคุณภาพของบทเรียนบนเว็บที่พัฒนาขึ้น แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่เป็นแบบปรนัยแบบ 4 ตัวเลือก จำนวน 50 ข้อ โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Congruence) IOC อยู่ระหว่าง 0.67 ถึง 1.00 ค่าความยากง่าย (p) อยู่ระหว่าง 0.23 ถึง 0.76 ค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.21 ถึง 0.72 มีค่าความเชื่อถือของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.83 และใช้แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ t-test for dependent samples ผลการวิจัย พบว่าบทเรียนบนเว็บที่พัฒนาขึ้น เรื่อง ปฏิบัติงานรถจักรยานยนต์ มีคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก ( gif.latex?\bar{X}≥ 4.61, S.D.= 0.65) โดยมีคุณภาพด้านเนื้อหา อยู่ในระดับดีมาก ( gif.latex?\bar{X} ≥ 4.67, S.D.= 0.50) มีคุณภาพด้านเทคนิคการผลิตสื่ออยู่ในระดับดีมาก ( gif.latex?\bar{X} ≥ 4.55, S.D.= 0.81) มีประสิทธิภาพบทเรียน (E1/E2) เท่ากับ 85.00/80.44 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาที่เรียนด้วยบทเรียนบนเว็บหลังเรียน ( gif.latex?\bar{X}≥ 40.22, S.D.= 0.79) สูงกว่าก่อนเรียน ( gif.latex?\bar{X} ≥ 25.11, S.D.= 2.29) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และบทเรียนบนเว็บที่พัฒนาขึ้น เรื่อง ปฏิบัติงานรถจักรยานยนต์ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{X}≥ 4.51, S.D.= 0.60) สอดคล้องตามสมมุติฐานการวิจัย

Article Details

How to Cite
ไชยเพีย เ. ., แก้วเหง้า ไ. ., & ศิริเจริญพานิชย์ อ. (2018). การพัฒนาบทเรียนบนเว็บ วิชาปฏิบัติงานเครื่องยนต์เล็กและจักรยานยนต์ เรื่อง ระบบฉีดเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์รถจักรยานยนต์ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี . วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 17(3), 54–62. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/149196
บท
บทความวิจัย

References

Panuwat Srichailard and Karich Shinthanakul.2017. The Development of a Blended e-learning Programs and Competency Based Plan for an internet Administration and Service Course for Computer Education Students. Journal of Industrial Education, 16(3), p. 66-74.

Anant Voratitipong, Panita Wannapiroon, Prachyanan Nilsook.2019. A Study of Digital Media Searching Systems. International Journal of e-Education, e-Business, e-Management and

e-Learning (IJEEEE), 3(9), p. 204-211.

Pisutta Arreerard, Prawit Simmatan, Pongtorn Phopulsak.2010. The Effects of Interactive Learner-Centered Model through Computer Network. Report of Classroom research, Faculty of Information Technology. Mahasarakham: Rajabhat Mahasarakham University.

Chaiyong Brahmawong.2013. Developmental Testing of Media and Instructional. Silpakorn Educational Research Journal, 5(1), p. 7-19.

Surnitchai Kanhakhun.2008. A Development of the Web-Based Instruction on Electronic Control System in Electronic Engine Control System Subject for Higher Vocational Education Certificate Level. Master thesis, M.Ed. (Curriculum and Instruction).Sakon Nakhon: Graduate School, Sakon Nakhon Rajabhat University.

Pornsawan Insorn.2004. A Development of WBI on Electrical Automotive System for Certificate in Vocational Education. Master thesis, M. Ed. (Computer Technology).Bangkok: Graduate School, King Mongkut’s Institute of Technology North Bangkok.

Eakarach Chaiphia, Traitot Kaewngao, Anumut Siricharoenpanich.2018. The Development of Web-based Instruction on Electronic Fuel Injection Systems of Motorcycle for Undergraduate Student of Small Engine and Motorcycle Practice. Journal of Industrial Education, 17(3),

p. 54-62.

Wiches Nuntasri and Krich Sinthanakul.2019. The Development of a Blended e-leaning Model on Competency-Based Using MAIP Method in Process for Undergraduate Students in Computer Education Program Journal of Industrial Education, 18(3), p.71-79.

Apinya Burisri.2011. A Development of Content and Activity Blended Learning Model on Computer Programming. Princess of Naradhiwas University Journal, 6(3), p. 133-143.

Sangdao Sankumrang, Chaiyot Ruangsuwan, Paitool Suksringam. 2010. Comparisons of Learning Outcomes Using the Courseware Entitled Thai Music of Mathayomsuksa 1 Students with Different Self-directed Learning. Rajabhat Maha Sarakham University Journal, 10(1), p. 73-82.

Pichai Thongdeelert.2003. A Prosed Collaborative Learning Model on Computer Network-Based Leaning for Undergraduate Student with Different Leaning Styles. Degree of Doctor of Philosophy thesis, Ph.D. (Educational Communications and Technology).Bangkok: Graduate School, Chulalongkorn University.

Thanasak, Sittichai, Sittichai Bussaman, Kanjana Khamsombut.2017. Developing a Web-Based Instruction Program by Using the Team Game Tournament Cooperative learning Model of “Introduction to Electricity and Electronics Course” for the First Year Vocational Certificate Students. Rajabhat mahasarakham University Journal, 8(3), p.221-229.