กระบวนการพัฒนาศักยภาพชุมชน เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าทอท้องถิ่นจังหวัดลำปางโดยประยุกต์แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นเชิงคุณภาพแบบการสร้างทฤษฎีจากข้อมูลพื้นฐาน โดยมีวัตถุประสงค์การศึกษาหลัก เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของผลิตภัณฑ์กลุ่มชุมชนผ้าทอท้องถิ่นจังหวัดลำปาง โดยประยุกต์ใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) และวัตถุประสงค์รอง 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและคุณลักษณะของแนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์กลุ่มชุมชนผ้าทอท้องถิ่นจังหวัดลำปาง 2) เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ของกลุ่มชุมชนผ้าทอท้องถิ่นจังหวัดลำปาง ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์กลุ่มชุมชนผ้าทอท้องถิ่นจังหวัดลำปาง ผลการศึกษาพบว่าโครงสร้างชุมชนที่เหมาะสมกับสภาพบริบทของกลุ่มชุมชนทอผ้าย้อมสีธรรมชาติแจ้ซ้อนเหนือ มีโครงสร้างที่เป็นรูปแบบ “ชุมชน” มากกว่า “องค์กร” และมีรูปแบบที่สอดคล้องกับแนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ คุณลักษณะรองที่เกิดจากองค์ประกอบหลัก คุณลักษณะรองใหม่เป็นกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน แบ่งได้ 5 ขั้นตอนด้วยกัน 1) พันธกิจร่วม 2) สร้างสรรค์ร่วม 3) การพัฒนาร่วม 4) การทำให้สำเร็จร่วม 5) เครือข่ายร่วม มีชื่อย่อว่า “MCDIN (แมกดิน)” ทดลองกระบวนการแมกดินเพื่อสร้างอัตลักษณ์และพัฒนาผลิตภัณฑ์กลุ่มชมชนทอผ้าย้อมสีธรรมชาติแจ้ซ้อนเหนือ ประกอบไปด้วย 1) ได้เอกลักษณ์ลายผ้า 2) ได้เอกลักษณ์สีย้อมธรรมชาติ 3) ได้ตราสัญลักษณ์สินค้า 4) ได้บรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าใหม่
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] Chookamnerd, W., Sungtong, E., Kerdtip, C. 2014. A model of a professional learning community of toward 21st century learning of schools in Thailand. Hatyai Journal. 12(2): 123-134.
[3] Panich, V. 2011. 21st Century Skills. Bangkok: Tathata Publication Co., Ltd. (In Thai)
[4] Senge, P. M. 1990. The Fifth Discipline: The Art and Practice of the Learning Organization. New York, NY: Doubleday.
[5] Chullasthira, Chanasda. 2017. Woven silk patterns for machine washing: A case study of Nong Bua Daeng natural dye weaving group. Journal of Industrial Education 16(1): p. 58-67.
[6] Pinyoanantapong, B. 2000. Learning Assessment and Recognition: Theory and Practical. Bangkok: Aksorn Charoenthat Co., Ltd. (In Thai)
[7] Pongpaew, T. 2005. Academic Resources Development Centre (ARDC). Mahasarakham: Mahasarakham University. (In Thai)
[8] Patton, M.Q. 1990. Qualitative Evaluation and Research Methods. Newbury Park, CA: Sage Publications.
[9] Charmaz, K. 2006. Constructing Grounded Theory: A Practical Guide through Qualitative Analysis. Thousand Oaks, CA: Sage Publications.
[10] Department of Business Development. (n.d.). Business Innovation. Business Innovation document, (n.p.). Ministry of Commerce, Thailand, p. 2-3.
[11] Dulyakasem, U., and Ngamwittayapong, A. 1997. Community Education: Conceptual Framework and Research Proposal. Bangkok: Plan Printing Co.Ltd.
[12] Vitoonsalidsilp, V. 2005. The Construction of Thai Middle-Class Identities: A Narrative Analysis of Travel Writings. Faculty of Journalism and Mass Communication, Thammasat University.