การบูรณาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ด้วยต้นทุนทางมรดกวัฒนธรรม และกระบวนการมีส่วนร่วม ของชุมชน: กรณีศึกษา ชุมชนเมืองเก่าสุโขทัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้กล่าวถึงการพัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมด้วยแนวทางของต้นทุนทางมรดกวัฒนธรรม คือ สิ่งที่ดีงามที่บรรพบุรุษคิด ทำขึ้น แล้วสืบทอดกันมาด้วยการปฏิบัติ มีทั้งสิ่งที่จับต้องได้และสิ่งที่จับต้องไม่ได้ จึงต้องอาศัยกระบวนการเพื่อให้คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน โดยอาศัยบริบทของพื้นที่และต้นทุนทางมรดกวัฒนธรรม นำไปสู่การพัฒนาชุมชน ซึ่งงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้แทนชุมชน ผู้แทนหน่วยงานท้องถิ่น และผู้แทนหน่วยงานของภาครัฐด้านการท่องเที่ยว กลุ่มละ 5 ท่าน รวมเป็นจำนวน 15 ท่าน เพื่อการเรียนรู้และทำความเข้าใจในปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิทยากระบวนการสร้างทฤษฎีฐานราก จากการศึกษาผู้วิจัยได้เลือกประเด็นที่ค้นพบ เพื่อนำมาสร้างเป็นแนวคิดและสังเคราะห์ออกมาเป็นข้อสรุปเชิงทฤษฎี ภายใต้การบูรณาการต้นทุนทางมรดกวัฒนธรรม สู่การเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนหมู่ 3 ตำบลเมืองเก่าสุโขทัย ประกอบด้วย 1. เมื่อใดที่เกิดการบูรณาการความร่วมมือระหว่างชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการจัดการ 2. เมื่อใดที่ชุมชนมีความเข้มแข็งด้านการบริหารจัดการ จะได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ 3. เมื่อใดที่ชุมชนเกิดการเรียนรู้และเห็นประโยชน์ร่วมกัน จะนำไปสู่ความร่วมมือในการพัฒนาอย่างมีเอกภาพภายในชุมชน 4. เมื่อใดที่ชุมชนเกิดองค์ความรู้และเห็นคุณค่าของต้นทุนทางมรดกวัฒนธรรมท้องถิ่น จะนำไปสู่ความหวงแหนในสิ่งเหล่านั้น 5. เมื่อใดที่หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่องกับองค์ความรู้ด้านการจัดการต้นทุนทางมรดกวัฒนธรรมท้องถิ่น จะทำให้ชุมชนเกิดความตื่นตัวและสนใจในประโยชน์ของสิ่งเหล่านั้น เพื่อเกิดประโยชน์กับพื้นที่อื่นๆ ต่อไปในอนาคต
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] Thongdee, I. (2005a). As a culture. Journal of Cultural periscope, 1(1) April-June, p. 16-29.
[3] Muang Sukhothai Subdistrict Municipality. (2016). The state and social background. Retrieved from http://www.muangsukhothai.go.th.
[4] William, E. (1997). Electoral Participation in a Low Stimulus Election. Rural Development, 4(1), p. 111-124.
[5] Rupngam, Y. (2002). The participation of the Commission of the Bureau of the Budget to reformthe bureaucracy. (Master’s thesis). National Institute of Development Administration, Bangkok.
[6] Howkins, J. (2010). Creative Ecologies: Where Thinking is a Proper Job. (K. Vanichviroon, Trans.). Bangkok: Thailand Creative & Design Center.
[7] Office of National Economics and Social Development. (2009). Planning and Economic Development National Society No. 10 (2007-2011 BC). Bangkok: Office of the Prime Minister.
[8] Mumford, M.D. (2012). Handbook of Organizational Creativity. United State of America: Elsevier.
[9] Designated Area Of Sukhothai And Related Areas. (2016). The number of tourists in Sukhothai. AndRelated Areas Report. Retrieved form http://dasta.or.th/dastaarea4/th.
[10] Patanapongsa, N. (2003). Participation, The basic principles, technique and case examples. Bangkok: 598 print.
[11] Wilber, K. (2000). A Theory of everything. Boston, MA: Shambhala Publications.
[12] Patmasiriwat, D. (2004). A survey of the status of knowledge and the deve;opment of cultural capital and local knowledge to human resource development: process report of the first study. Phitsanulok: Faculty of Mangement and Information Science, Naresuan University.
[13] Throsby, C. D. (2001). Economics and culture. Cambridge: Cambridge University Press.
[14] Samudavanija, C. (1997). Culture as capital. Bangkok: p. Press.
[15] Bourdieu, P. (1986). The form of capital. In J. G. Richardson (Ed.), Handbook of theory and research for the sociology of education, 21 February 1986 (p. 241-258). New York: Greenwood Press.
[16] Siriwong, P. (2004). Grounded Theory, Research Methodology to theorize in developing countries. Library Msk.t. (19) April-September 2004, p. 13-21.
[17] Kangkhao, S and Louhapensang, C. (2018). MASTER PLAN DEVELOPMENT ON CREATIVE TOURISM STRATEGY FOR SPECIALIZED MONUMENTAL AREAS OF HISTORICAL DISTRICTS-SUKHOTHAI, SI SATCHANALAI, AND KAMPHAENGPHET. Journal of Industrial Education, 16(1), p. 50. Retrieved from https://tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/123860.