การเห็นคุณค่าในตนเองและแรงจูงใจที่จะเรียน กรณีศึกษา: นักเรียนการบริบาลในโรงเรียนปิยะมินทร์คุณารักษ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การเห็นคุณค่าในตนเองและแรงจูงใจที่จะเรียนเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งสำหรับบุคคลที่จะรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ และนำไปสู่การประสบความสำเร็จที่ดี การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การเห็นคุณค่าในตนเองและแรงจูงใจที่จะเรียนบนพื้นฐานทฤษฎี Vroom's Expectancy งานวิจัยนี้เก็บข้อมูลจาก นักเรียนการบริบาลในโรงเรียนปิยะมินทร์คุณารักษ์ จำนวน 156 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยและใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการศึกษาพบว่า 1. ส่วนใหญ่ของนักเรียนการบริบาลเป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 16-20 ปี คิดเป็นร้อยละ 89.10 และเกือบทั้งหมดจบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2. การเห็นคุณค่าในตนเอง (Self-Esteem) อยู่ในระดับสูง (µ= 2.97) 3. แรงจูงใจที่จะเรียน (Motivation to Learn) อันประกอบด้วย 4 ด้าน คือ ก) ด้านการรับรู้ความสามารถในตนเอง (Self-Efficacy) อยู่ในระดับสูง (µ = 2.99) ข) ด้านสาเหตุก่อนเข้ามาเรียน (Valence) อยู่ในระดับสูง (µ = 3.29) ค) ด้านความคาดหวัง (Expectancy) อยู่ในระดับสูง (µ = 3.32) ง) ด้านผลที่ได้รับเมื่อสำเร็จการศึกษา (Instrumentality) อยู่ในระดับสูง (µ = 3.33)
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] Cast, A. D. and P. J. Burke. 2002. A Theory of Self-Esteem. Social Forces, 80 (3), p. 1041-1068.
[3] Soufi, M., S. Gilaninia, and S. J. Mousavian. 2011. Examine the Relationship between Self-Esteem of Women and Lack of Their Appointment to Organization Senior Posts. International Journal of Business and Social Science, 2 (19), p. 287-292.
[4] โรงพยาบาลโกลเด้นเยียส์. 2555. ความเครียดในผู้เฝ้าไข้. ค้นเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2558, จาก http://www.goldenyears.co.th/knowledge.php?content=na_stress
[5] วรารัตน์ สุวรรณไตรย์. 2554. ทฤษฎีความคาดหวัง. ค้นเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2558, จาก http://wararut2509.blogspot.com
[6] Moody, R. C. and D. J. Pesut. 2006. The motivation to care: application and extension of motivation theory to professional nursing work. Journal of Health Organisation and Management, 20(1), p. 15-48.
[7] วิมลพรรณ กุลัตถ์นาม. 2538. ระดับความพร้อมในการเรียนรู้โดยการชี้นำตนเองของครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียนในเขตการศึกษา 11. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการศึกษาผู้ใหญ่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
[8] Ayres, H. W. 2005. Factors Related to Motivation to Learn and Motivation to Transfer Learning in a Nursing Population.
Doctor of Education, Adult and Community College Education, North Carolina State University.
[9] จิรพัฒน์ ศรีสุข. 2546. ความสัมพันธ์ระหว่างความนับถือตนเองกับความมุ่งมั่นในงานของตำรวจปราบปรามยาเสพติดกองบังคับการตำรวจปราบปรามยาเสพติด 2. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
[10] อรวรรณ ธนนนันทกุล. 2547. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสัมพันธ์ในครอบครัวการเห็นคุณค่าในตนเองและ พฤติกรรมการเผชิญปัญหาของนักศึกษาพยาบาลมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาพัฒนาการ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
[11] ทัศนีย์ อัญมณีเจริญ. 2550. ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ (the big five) ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและความพึงพอใจในงาน: กรณีศึกษาธุรกิจโรงเลื่อยไม้สัก. ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
[12] Bandura, A. 1994. Self-efficacy. In V. S. Ramachaudran (Ed.). Encyclopedia of human behavior Vol. 4. p. 71-81.
New York: Academic Press.
[13] ประทีป สยามชัย. 2541. ทฤษฎีและหลักบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
[14] สุวนีย์ พอกสนิท ผดุงชัย ภู่พัฒน์ และเลิศลักษณ์ กลิ่นหอม. 2556. ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการศึกษาต่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 12(2), น. 157-164.
Poksanit, S., PuPat, P. and Klinhom, L. 2013. Factors affecting on further educational motivation of Matthayom suksa 3 student under the office of Ladkrabang District, Bangkok. Journal of Industrial Education, 12(2), p. 157-164.
[15] พิมพา กิติราช. 2552. การมีส่วนร่วมของญาติในการตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยระยะสุดท้าย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.