การสร้างและประเมินเว็บเพจสำหรับสืบค้นชื่อเรื่องและบทคัดย่อปัญหาพิเศษ ของภาควิชาครุศาสตร์เกษตร คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

Main Article Content

เจริญศรี วุฒฑกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและประเมินเว็บเพจสืบค้นชื่อเรื่องและบทคัดย่อ รวมถึงเปรียบเทียบความพึงพอใจของนักศึกษาต่อเว็บเพจสืบค้นชื่อเรื่องและบทคัดย่อปัญหาพิเศษของภาควิชาครุศาสตร์เกษตร คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จำแนกตามเพศ และ แขนงวิชา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิชาครุศาสตร์เกษตร ชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 76 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับการสร้างเว็บเพจ ได้แก่ โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้เขียนโปรแกรมบนระบบอินเตอร์เน็ตและ โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล เพื่อจัดเก็บ ค้นหา เรียงข้อมูล และดึงข้อมูล เว็บเพจสืบค้นชื่อเรื่องและบทคัดย่อปัญหาพิเศษของภาควิชาครุศาสตร์เกษตร ภายใต้เว็บไซต์ภาควิชาครุศาสตร์เกษตร คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการสืบค้นชื่อเรื่องและบทคัดย่อปัญหาพิเศษของภาควิชาครุศาสตร์เกษตร คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง


ผลการวิจัยพบว่า เว็บเพจสืบค้นชื่อเรื่องและบทคัดย่อปัญหาพิเศษ ภาควิชาครุศาสตร์เกษตร ภายใต้เว็บไซต์ภาควิชาครุศาสตร์เกษตร คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สร้างจาก โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ PHP  Java Script  XML  CSS  และ  โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล MySQL  นักศึกษามีความพึงพอใจโดยรวมต่อการสืบค้นชื่อเรื่องและบทคัดย่อปัญหาพิเศษในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 3.84, S.D. = 0.69)  และความพึงพอใจโดยรวมของนักศึกษาจำแนกตามเพศ และจำแนกตามแขนงวิชาที่เรียน คือ เทคโนโลยีการเกษตร – การผลิตพิช เทคโนโลยีการเกษตร – การผลิตสัตว์ และ อุตสาหกรรมเกษตร อยู่ในระดับมาก และแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
วุฒฑกุล เ. (2015). การสร้างและประเมินเว็บเพจสำหรับสืบค้นชื่อเรื่องและบทคัดย่อปัญหาพิเศษ ของภาควิชาครุศาสตร์เกษตร คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(3), 376–383. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/145760
บท
บทความวิจัย

References

[1] สาขาวิชาครุศาสตร์เกษตร. 2555. คู่มือการทำปัญหาพิเศษ. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สจล.

[2] เว็บดีไซต์. 2554. ส่วนประกอบของเว็บเพจ. ค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2556. จาก http://www.webdesign.siam8.com/blog/?p=551

[3] ธวัชชัย ศรีสุเทพ. 2544. คัมภีร์ WEB DESIGN : คู่มือการออกแบบเว็บไซต์ฉบับมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: โปรวิชั่น.

[4] ดวงพร เกี๋ยงคำ. 2552. สูตรสำเร็จ 101 เทคนิคสร้างเว็บไซต์. กรุงเทพฯ: โปรวิชั่น.

[5] ประเวศน์ วงษ์คำชัย. 2552. หลักการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

[6] พันจันทร์ ธนวัฒนเสถียร และ ปิยะ นากสงค์. 2551. ออกแบบและสร้างเว็บไซต์ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ : ซัคเซสมีเดีย.

[7] iBoy. 2555. MySQL คืออะไร? ค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2558. จาก http://www.phpdevthailand.com/archive/19/

[8] นัฐพงษ์ เจนวีรวัฒน์. 2546. การพัฒนาเว็บไซต์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี: วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต.

[9] โสรชัย นันทวัชรวิบูลย์. 2545. Be graphic : สู่เส้นทางกราฟิกดีไซเนอร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.

[10] Kim, Heejun and Fesenmaier, Daniel R. August 2008. Persuasive Design of Destination Web Sites: An Analysis of First Impression. Journal Travel Research 47(1).

[11] วิชัย พลอยประเสริฐ. การพัฒนาระบบหนังสือเวียนอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านเครือข่ายินเตอร์เน็ต. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 12(2), น.48-55.

[12] มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. 2555. “ชนิดและกลุ่มตัวอักษรที่นิยมใช้บนเว็บไซต์”. การจัดรูปแบบตัวอักษรสำหรับเว็บไซต์. ค้นเมื่อ 3 เมษายน 2556. จาก dusit.ac.th/msportfolio/public/adviser/95/Ch7-Typography.pdf