การศึกษาและพัฒนาเฟอร์นิเจอร์ไม้หัตถอุตสาหกรรมชุมชน

Main Article Content

อฏฐม สาริบุตร
จตุรงค์ เลาหะเพ็ญแสง
สมชาย เซะวิเศษ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาเฟอร์นิเจอร์ไม้หัตถอุตสาหกรรมชุมชน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบเฟอร์นิเจอร์ไม้หัตถอุตสาหกรรมชุมชน กลุ่มตัวอย่างที่ผู้วิจัยใช้ คือ กลุ่มผู้บริโภคที่เคยใช้เฟอร์นิเจอร์ไม้หัตถอุตสาหกรรมชุมชน จำนวน 20 คน โดยสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และทำการวิเคราะห์โดยการจัดกลุ่ม (Grouped Data)


ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาเฟอร์นิเจอร์ไม้หัตถอุตสาหกรรมชุมชน สามารถสรุปได้ว่าปัจจัยที่มีผลต่อการ พัฒนาเฟอร์นิเจอร์ไม้หัตถอุตสาหกรรม โดยแบ่งตามความต้องการของผู้บริโภคที่เคยใช้เฟอร์นิเจอร์ไม้หัตถอุตสาหกรรมชุมชน ที่ผู้วิจัยทำการสัมภาษณ์ คือ ปัจจัยด้านการขนส่งและปัจจัยทางกายภาพของเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญ เพื่อให้รูปแบบของเฟอร์นิเจอร์ไม้หัตถอุตสาหกรรมชุมชนมีการพัฒนารูปแบบ จากนั้นผู้วิจัยทำการร่างแบบร่างและสร้างเครื่องมือ เพื่อสอบถาม ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ และผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งสามารถสรุปผลได้ว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ เลือกรูปแบบที่ 1 และ 4 ผู้วิจัยสามารถสรุประดับความคิดเห็นได้ คือ รูปแบบเฟอร์นิเจอร์ไม้หัตถ อุตสาหกรรมชุมชน รูปแบบที่ 1 มีระดับความเหมาะสมในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.26) และรูปแบบที่ 4 มีระดับความเหมาะสม ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x}= 4.26) ผู้วิจัยจึงสามารถสรุปได้ว่า รูปแบบของเฟอร์นิเจอร์ไม้หัตถอุตสาหกรรมชุมชน รูปแบบที่ 1 มีระดับความเหมาะสมในการนำไปพัฒนารูปแบบเฟอร์นิเจอร์ไม้หัตถอุตสากรรมชุมชน เมื่อสรุปหารูปแบบแล้ว ผู้วิจัยได้ทำการประเมินด้านการผลิตเฟอร์นิเจอร์ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตเฟอร์นิเจอร์จำนวน 3 ท่าน เพื่อสรุปหาความเหมาะสมในการผลิต เฟอร์นิเจอร์ และสรุปว่าระดับความเหมาะสมในการผลิตเฟอร์นิเจอร์ อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 3.96)


สรุปภาพรวมจากความคิดเห็น คำแนะนำของผู้บริโภคผู้ที่เคยใช้เฟอร์นิเจอร์ไม้หัตถอุตสาหกรรรมชุมชน พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาเฟอร์นิเจอร์ไม้หัตถอุตสาหกรรมชุมชน ควรเพิ่มการถอดประกอบเพื่อลดพื้นที่ในการจัดวาง การขนส่งและสามารถจัดวางเฟอร์นิเจอร์ได้จำนวนมากขึ้นต่อการขนส่งใน 1 ครั้ง และควรพัฒนารูปแบบให้เข้ากับยุคสมัย โดยการลดลวดลายให้เรียบง่ายลง แต่คงรูปทรงที่เป็นเอกลักษณ์ และแสดงถึงอัตลักษณ์ของศิลปะเฟอร์นิเจอร์

Article Details

How to Cite
สาริบุตร อ., เลาหะเพ็ญแสง จ., & เซะวิเศษ ส. (2015). การศึกษาและพัฒนาเฟอร์นิเจอร์ไม้หัตถอุตสาหกรรมชุมชน. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(3), 360–367. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/145758
บท
บทความวิจัย

References

[1] ชุม กรมทอง. 2525. ตำราวิชาศิลปหัตถกรรม. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

[2] เอกวรา ทรัพย์หิรัญ. 2550. ปัจจัยที่ส่งผลต่อแนวโน้มปริมาณการส่งออกเฟอร์นิเจอร์ของไทยในตลาดญี่ปุ่นในทัศนะของผู้ส่งออกตลาดญี่ปุ่น. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

[3] สุชาติ เถาทอง. 2544. ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาพื้นถิ่นภาคตะวันออก. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

[4] อุดมศักดิ์ สาริบุตร. 2552. การออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนอย่างยั่งยืน สำหรับกลุ่มคนพิการและผู้ด้อย โอกาสในเขตภาคกลาง. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

[5] อุดมศักดิ์ สาริบุตร. 2549. เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

[6] สถาพร ดีบุญมี ณ ชุมแพ. 2550. ผลของเทคโนโลยีที่มีผลต่อการออกแบบ. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

[7] สถาพร ดีบุญมี ณ ชุมแพ. 2550. การศึกษาการ ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

[8] สุธาสินีน์ บุรีคำพันธุ์. 2556. การศึกษาภูมิทัศน์วัฒนธรรมชุมชนย่านวัดพระธาตุหริภัญชัยเพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์สาธารณะ. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 13(2), น.81-88.