คู่มือแนะนำเชิงท่องเที่ยว “ครัวข้าวเหนียว ของชาวอีสานในล้านนา”

Main Article Content

อารยา รวมสำราญ

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องนี้ มีจุดมุ่งหมายคือ 1) เพื่อส่งเสริมกิจกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชน 2) เพื่อจัดทำต้นแบบ คู่มือแนะนำเชิงท่องเที่ยว “ครัวข้าวเหนียวของชาวอีสานในล้านนา” และนำเสนอทิศทางการพัฒนาพื้นที่ของชุมชนเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ให้กับคนในชุมชนได้ในอนาคต และ 3) เพื่อให้ได้ซึ่งองค์ความรู้ใหม่สำหรับชุมชน และสถานศึกษาที่สามารถนำองค์ความรู้ ไปสำหรับใช้บูรณาการเรียนการสอน โดยใช้เครื่องมือการวิจัยและประชากรกลุ่มเป้าหมาย คือการประชุมแบบกระบวนการกลุ่มร่วมกับผู้นำชุมชน เพื่อให้ได้สิ่งที่ชุมชนต้องการนำเสนอให้แก่นักท่องเที่ยว เพื่อนำมาสรุปแนวการออกแบบคู่มือท่องเที่ยว รวมถึงมีการผลักดันให้มีการฟื้นฟูการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ขึ้นในชุมชนและได้นำคู่มือดังกล่าวไปทดลองใช้  ผลวิจัยปรากฏว่าหลังจากโครงการวิจัยแล้วเสร็จ ประชาชนได้ให้ความสำคัญกับชุมชนมากชึ้น โดยการเข้าร่วมกิจกรรมการท่องเที่ยวของชุมชน และให้ความร่วมมือในการถ่ายทอดองค์ความรู้ของชุมชน อันเป็นประโยชน์กับชุมชนและสถานศึกษา ที่ได้นำองค์ความรู้ดังกล่าวไปบูรณาการกับการเรียนการสอนได้ และหลังจากมีการฟื้นฟูการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ขึ้นโดยใช้คู่มือท่องเที่ยว ผลปรากฏว่านักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจต่อคู่มือท่องเที่ยว ด้านการออกแบบจัดวางรูปภาพประกอบคู่มือแนะนำท่องเที่ยวมีความพึงพอใจในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ย ( gif.latex?\bar{x}=4.30, S.D =0.42) ด้านข้อมูลในคู่มือสำหรับแนะนำการท่องเที่ยวมีความพึงพอใจในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x} =4.15, S.D =0.23) ด้านขนาด ความชัดเจนของภาพ และแผนที่ มีความพึงพอใจในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ย ( gif.latex?\bar{x}=4.24, S.D =0.15) ด้านความประทับใจคู่มือประกอบกับสถานที่ท่องเที่ยวมีความพึงพอใจในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x} =4.40, S.D =0.05) และมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจโดยรวมที่ระดับ 4.27 อยู่ในเกณฑ์ดี

Article Details

How to Cite
รวมสำราญ อ. (2018). คู่มือแนะนำเชิงท่องเที่ยว “ครัวข้าวเหนียว ของชาวอีสานในล้านนา”. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 17(2), 124–133. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/145183
บท
บทความวิจัย

References

[1] Elizabeth Boo. 1991. Meaning of Ecotourism . (Culture Online) , Retrieved August 22, 2015 from www.msu.ac.th

[2] The Ecotourism Society. 1991. Meaning of Ecotourism . (Culture Online) , Retrieved August 22, 2015 from www.msu.ac.th

[3] Seri Wechbussakorn. 2538. Recreation and Interpretation. The Office of National Park, the Department of National Park, Wildlife, and Plant Conservation. (Culture Online), Retrieved August 22, 2015 from www.dnp.go.th/npo/html

[4] Preyaporn Wounganutaroat. N.2003. Academic Management. Bangkok : Pimdee.

[5] Faul, F., Erdfelder, E., Buchner, A., & Lang, A.G. 2009. Statistical Power Analyses Using G*Power 3.1: Test for Correlation and Regression Analyses. Behavior Research Methods, 41, p.1149-1160

[6] The Tourism Authority of Thailand. 2539. Policy and Development Guidelines for Ecotourism, B.E. 2539- 2540 . Bangkok : Policy and Planning Division.

[7] The Tourism Authority of Thailand. 2548. Agricultural Tourist Attractions. Bangkok : The Tourism Authority of Thailand.

[8] Thipsuda Phatumanont. 2554. Composition and Space in Basic Design. CU Print, angkok : Chulalongkorn University.

[9] Chanthana Thongprayoon. 2537. Design and Layout for Publication.
Nonthaburi : Sukhothai Thammathirat Open University.
[10] Chaturong Louhapensang, et al.2560. Development product design based on concept of creative economy from cultural capital of Nakhon chum district, Kamphaeng Phet province.
Journal of Industrial Education, 16(2), p.75-83

[11] Central information cultural. 2556. 9 Cultural heritage and way of life 8 Thailand. (Cultural Online). Retrived June 13, 2558 from:https://www.thaiculture.in.th.index

[12] Buraparat Nanchai, et al.2558. Study and Development products from local wisdom of Baan Tawal village, Chiangmai. Journal of Industrial Education,14(1), p.116-120