ผลการใช้วัสดุเศษหนังเพื่อผลิตวัสดุเชิงประกอบในการสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้คือศึกษาผลการใช้วัสดุเศษหนังเพื่อผลิตวัสดุเชิงประกอบในการสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มี วัตถุประสงค์การวิจัยคือ 1) เพื่อหาอัตราส่วนของผงหนังกับตัวประสานในการสร้างผลิตภัณฑ์วัสดุเชิงประกอบ 2) เพื่อประเมิน ประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์วัสดุเชิงประกอบ โดยใช้เกณฑ์การทดสอบ ตามมาตรฐาน JIS A 5908-1994 3) เพื่อประเมินความ พึงพอใจผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมการใช้เศษหนังในงานวัสดุเชิงประกอบ ประชากรคือผู้เข้าร่วมการฝึกอบรม ได้แก่ กลุ่มนักศึกษาชั้น ปีที่ 2 สาขาครุศาสตร์การออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จำนวน 30 คน กลุ่มประชาชนที่ สนใจในชุมชนเขตลาดกระบังจำนวน 10 คน และผู้ประกอบการเกี่ยวกับงานเรซิ่นไฟเบอร์กลาส จำนวน 5 คน ใช้สถิติในการ วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย () และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยพบว่า 1) อัตราส่วนของผงหนังกับตัวประสานในการสร้างผลิตภัณฑ์วัสดุเชิงประกอบ คือ อัตราส่วนผงหนังกับตัว ประสาน เท่ากับ 1:10 โดยวิธีชั่งน้ำหนัก 2) ประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์วัสดุเชิงประกอบ คุณสมบัติทุกด้านของวัสดุเชิงประกอบ ผ่านเกณฑ์ทุกเกณฑ์ทดสอบ ตามมาตรฐาน JIS A 5908-1994 3) ผลการประเมินความพึงพอใจจากผู้เข้าฝึกอบรม กลุ่มนักศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51 S.D. = 0.49) ผลการประเมินกลุ่มประชาชน อยู่ในระดับปานกลาง (
=3.49 S.D. = 0.46) และ ผลการประเมินกลุ่มผู้ประกอบการ อยู่ในระดับมาก (
=3.60 S.D.= 0.44).
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] หฤทภัค กีรติเสวี และคณะ. 2552. ภาพรวมของวัสดุเชิงประกอบ. วิศวกรรมสารมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 22(70) น.18-32.
[3] Kotler, Philip; & Armstrong Gary. 2001. Principles of Marketing 9th ed. New Jersey: Prentice-Hall.
[4] สนธยา พลศรี. 2548. เครือข่ายการเรียนรู้ ในงานพัฒนาชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
[5] ธีรเดช ชีวนันทชัย. 2546. การพัฒนากระบวนการ ผลิตไฟเบอร์บอร์ดจากเศษหนังสัตว์ที่มีค่าการนำ ความร้อนต่ำ. วิทยานิพนธ์ วิศวกรรมศาสตร มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี.
[6] ธเนศ ภิรมย์การ.2556.การพัฒนาวัสดุจากพืชวงศ์ หญ้าร่วมกับเศษวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตรกรรม เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์.วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 12 (2) น.69-76.
Thanate Piromgarn.2013. Developing Materials form Gramineae and Agricultural Wastes for Application in Product Design. Journal of Industrial Education, 12 (2) p.69-76.
[7] พิชิต เลี่ยมพิพัฒน์. 2541.วัสดุและกรรมวิธีการผลิต. กรุงเทพฯ: สยามคาสท์ไนล่อน.