การส่งเสริมผลสัมฤทธิ์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยเทคนิคการแก้ปัญหาสี่ขั้นตอนของโพลยาและ หมวดหมู่ทางพฤติกรรมของชอนเฟลด์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ และความสามารถในการแก้ปัญหาโดยการใช้การแก้ปัญหาสี่ขั้นตอนของโพลยาและหมวดหมู่ทางพฤติกรรมของชอนเฟลด์ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 32 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 หัวข้อที่ใช้ในงานวิจัยนี้ คือระบบจำนวนจริง นอกจากการแก้ปัญหาสี่ขั้นตอนของโพลยาและหมวดหมู่ทางพฤติกรรมของชอนเฟลด์ ผู้วิจัยได้ประยุกต์กิจกรรมการทำงานกลุ่มในการสอนการแก้ปัญหา เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยประกอบด้วย แผนจัดการเรียนรู้ 8 แผน แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์แบบทดสอบการแก้ปัญหา การบ้านและใบงานของนักเรียน และบันทึกผลการจัดการเรียนการสอนของครู การเรียนการสอนใช้เวลา 13 คาบ คาบละ 50 นาที ใช้วงจรการปฏิบัติงาน 3 วงจร แต่ละวงจรประกอบด้วย การวางแผน การจัดกิจกรรม การสังเกต และการสะท้อนผล ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ และการแก้ปัญหาของนักเรียนสูงถึงระดับที่ผู้วิจัยต้องการ จากการสะท้อนผล ผู้วิจัยปรับการสอนโดยการย้ำเตือนในด้านความรู้ ทฤษฎี กลวิธีทั่วไป กลวิธีเฉพาะเนื้อหา ความตระหนักและความเข้าใจในกระบวนการคิดของตัวเอง การควบคุมและตรวจสอบคำตอบ
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] Robert E. Reys and Krulik, S. 1980. Problem Solving in School Mathematics.
USA: The National Council of Teachers of Mathematics.
[3] Polya, G. 1973. How to Solve It. New Jersey: Princeton University Press.
[4] Schoenfeld H. Alan. 1985. Mathematical Problem Solving. London: Academic Press Inc.
[5] Kemmis, S. and McTaggart, R. 1988. The Action Research Planner. 3rd ed. Geelong,
Australia: Deakin University Press.
[6] Shumway J. Richard (Ed.). 1980. Research in Mathematics Education. Reston, VA:
National Council of Teacher of Mathematics.
[7] Yuwalee, T. 2016. Applying Polya’s four-steps and Schoenfeld’s behavior categories to enhance students’ mathematical problem solving. Journal of Advances in Humanities and Social Sciences, 2(5), p. 261-268.
[8] Sirirat, P. 2012. Blended Learning and Its Applications. Journal of Industrial Education, 11(1), p.1-5.