การศึกษาแนวทางด้านการยศาสตร์เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอาการผิดปกติ ทางระบบโครงร่างกระดูกและกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จังหวัดลำปาง

Main Article Content

อนิรุจน์ มะโนธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางด้านการยศาสตร์เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอาการผิดปกติทางระบบ   โครงร่างกระดูกและกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน (Work-Related Musculoskeletal Disorders: WMDS) ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จังหวัดลำปาง ใช้การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นกำหนดสัดส่วน จำนวน 320 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบประเมินความเสี่ยงอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างกระดูกและกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับ    การทำงานและการอภิปรายแสดงความคิดเห็นเพื่อหาแนวปฏิบัติ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า ระดับของความเสี่ยงต่อการเกิด WMDS มากที่สุดอยู่ในขั้นตอนการเก็บเกี่ยวข้าวโพด โดยมีท่าทาง การออกแรง การเอื้อมหยิบจับที่ไม่เหมาะสมคิดเป็นร้อยละ 93.13 รองลงมาคือการใช้มือและแขนในท่าทางที่มีลักษณะการทำซ้ำ คิดเป็นร้อยละ 86.25 คะแนนเฉลี่ยจากการประเมินความเสี่ยงด้วยเทคนิค RULA เท่ากับ 7 หมายถึงต้องได้รับการปรับปรุง ในส่วนของการใช้แนวทางด้านการยศาสตร์แบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 1) การฝึกอบรม 2) การบ่งชี้อันตราย 3) การลดปัจจัยเสี่ยง และ 4) การปรับปรุง โดยกลุ่มเกษตรกรได้มีการดำเนินการตามกระบวนการในทุกขั้นตอน นอกจากนั้นได้เสนอแนวทางการปฏิบัติงานเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิด WMDS ทั้งในเชิงการบริหารจัดการและการสร้างความตระหนักเพื่อให้เกษตรกรสามารถเรียนรู้ และค้นหาแนวทางการลดความเสี่ยงได้ด้วยตนเองภายใต้บริบทที่เหมาะสมในพื้นที่

Article Details

How to Cite
มะโนธรรม อ. (2018). การศึกษาแนวทางด้านการยศาสตร์เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอาการผิดปกติ ทางระบบโครงร่างกระดูกและกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จังหวัดลำปาง. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 17(1), 95–103. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/139962
บท
บทความวิจัย

References

[1] Office of Agricultural Economics. 2016. Important agricultural products and trends for 2017. Bangkok : Department of Bureau of Agricultural Economic Research. Ministry of Agriculture and Cooperatives.

[2] Mueang Pan Agricultural Office. Agriculture Economy. Search on January 1, 2018, From: https://mueangpan.lampang.doae.go.th/index.html

[3] National Statistical Office. The Informal Employment Survey 2017. Bangkok : Department of National Statistical Office. Ministry of Digital Economy and Society.

[4] Nithimar Sermsuti-Anuwat and Pornchai Sithisarankul. 2016. Work-Related Musculoskeletal Disorders Among Dentists. Journal of the Dental Association of Thailand, 67(2), p.72-80.

[5] Van Eerd et al. 2010. Process and implementation of participatory ergonomic interventions: a systematic review. Ergonomics, 53(10), p. 1153-1166.

[6] Krejicie, R. and Morgan, D. 1970. Determining Sample Size for Research Activities. Journal Educational and Psychological Measurement, 30(3), p. 607-610.

[7] Bureau of Occupational and Environmental Diseases. Risk Assessment Form for Musculoskeletal Disorders. Search on February 1, 2018, From: September 1, 2017, From https://odpc5.ddc.moph.go.th

[8] McAtamney, L. and Corlett E.N. 1993. RULA: A survey method for the investigation of work-related upper limb disorders. Applied Ergonomics, 24(2), p. 91-99.

[9] Wiwat Sungkhabut and Sunisa Chaiklieng. 2011. Musculoskeletal Disorders Among Informal Sector Workers of Hand-Operated Rebar Bender: A Pilot Study. Srinagarind Medical Journal, 26(3), P. 225-232.

[10] Rungklo Tomthong and Woranat Sangmanee. 2560. Perception toward safety system and safety behavior of production operator in bakery manufacturing company in ladkrabang industrial estates. Journal of Industrial Education, 16(1), p. 68-75.

[11] Hartman E., et al. 2005. Exposure to physical risk factor in Dutch agriculture: effect on risk leave due to musculoskeletal disorders. International Journal of Industrial Ergonomics, 35(11), p. 1031-1045.

[12] Chantana Chantawong Nisakorn Krungkraipetch and Yupa Dowruong. 2559. Participatory ergonomics intervention to reduce risk factors of work related musculoskeletal disorders in smoked rubber plant, rayong province. Journal of Public Health Nursing, 30(1), p. 76-86.

[13] Kawakami T. 2007. Participatory approaches to improving safety, health and
working conditions in informal economy workplaces - Experiences of Cambodia, Thailand and Viet Nam. Bangkok : ILO Subregional Office for East Asia.

[14] Tippawan Sirirat Chanin Srisuwannapa and Nuttawut Rojniruttikul. 2557. Factors affecting perception toward safety OHSAS 18001 system of operator in thai Nippon steel engineering & construction corporation. Journal of Industrial Education, 13(1), p. 125-132.