การพัฒนากิจกรรมศิลปะสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้

Main Article Content

ดารณี ธนวัฒน์
เกษร ธิตะจารี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา คือ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมศิลปะสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้   2) เพื่อประเมินผลกิจกรรมศิลปะสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของครูผู้สอนศิลปะ และผู้ปกครองเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ต่อกิจกรรมศิลปะ กลุ่มประชากรตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ชาย-หญิง อายุระหว่าง 8 ถึง 12 ปีจำนวน 17 คน ครูผู้สอนศิลปะเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ และผู้ปกครองเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการเจริญเติบโตด้านสติปัญญา อารมณ์ สังคม ร่างกาย การรับรู้ สุนทรียภาพ และการสร้างสรรค์ ที่เกิดจากการศึกษาวิจัยทดลองกิจกรรมศิลปะสำหรับเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ โดยกลุ่มประชากรตัวอย่างต้องผ่านการทำกิจกรรมศิลปะทั้งหมด 4 กิจกรรม อันประกอบด้วย 1) กิจกรรมวาดเส้นระบายสี  2) กิจกรรมปั้นดินน้ำมัน  3) กิจกรรมภาพพิมพ์เศษวัสดุ 4) กิจกรรมการประดิษฐ์สิ่งของ


ผลการศึกษาวิจัยทดลองพบว่า การพัฒนากิจกรรมศิลปะสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ พัฒนาการเจริญเติบโตตามทฤษฎีของวิคเตอร์ โลเวนเฟลด์ ( Victor Lowenfeld ) กลุ่มประชากรตัวอย่างที่ผ่านการทำกิจกรรมศิลปะช่วยให้เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ มีพัฒนาการการเจริญเติบโตมีระดับคะแนนสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เป็นไปตามสมมุติฐานงานวิจัยที่ตั้งไว้ สำหรับประเมินผลกิจกรรมศิลปะสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญก่อนเรียนกิจกรรมศิลปะมีผลคะแนนเฉลี่ยพัฒนาการการเจริญเติบโตที่ระดับปานกลาง  หลังเรียนกิจกรรมศิลปะมีผลคะแนนเฉลี่ยพัฒนาการการเจริญเติบโตที่ระดับมาก การวัดระดับความพึงพอใจของกลุ่มประชากรตัวอย่างที่มีต่อกิจกรรมศิลปะที่พัฒนาขึ้น มีคะแนนความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
ธนวัฒน์ ด., & ธิตะจารี เ. (2016). การพัฒนากิจกรรมศิลปะสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 15(2), 33–40. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/130639
บท
บทความวิจัย

References

[1] ขนิษฐา วิเศษสาธร. 2549. ความบกพร่อง ทางการเรียน. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 10(1), น.45-47.
Wisessathon, K. 2006.Learning Disability : LD.,Journal of Industrial Education,10 (1), p. 45-47.

[2] ปิยวรรณ อภินันทฺรุ่งโรจน์. 2555. การศึกษาเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์และความพึงพอใจที่ มีต่อ กระบวนการจัดการเรียนรู้ของนักเรียน ชั้นอนุบาลที่ 2 โรงเรียนนายกวัฒนาการ วัดอุดมธานี จังหวัดนครนายกด้วยกิจกรรมศิลปศึกษา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต ,มหาวิทยาลัยศรีนครินทวิโรประสานมิตร.

[3] สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 2549. คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 (สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

[4] ศรีเรือน แก้วกังวาล. 2556. จิตวิทยาเด็กและผู้ใหญ่ที่ (LD) สมาธิสั้น,ไฮเปอร์แอกทีฟ,ปัญญาเลิศ. มีลักษณะพิเศษด้อยความสามารถ ทางการเรียน (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ : หมอชาวบ้าน.

[5] Lowenfeld, V.and Brittain, W.L. 1987. Creative and mental growth. (5 th ed.).(N.P.) : New Macmillan.

[6] ศิรินภรณ์ ศรีวิไล. 2558. การพัฒนาชุดฝึกความคิดสร้างสรรค์วิชาศิลปะสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14 (2), น.67-69.
Srivilai, S. 2015. The development Training package on creative thinking in art subject for students in Prathom 6.Journal of Industrial Education, 14(2),p.67-69,

[7] วิรุณ ตั้งเจริญ. 2539. ศิลปศึกษา. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.