แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนิสิตครูระดับชั้นปีที่ 5 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Main Article Content

พัชรา วนิชวศิน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนิสิตครูก่อนและหลังการฝึกประสบการณ์วิชาชีพและเสนอแนะแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนิสิตครู  กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหาร และครูใน 38 สถานศึกษาที่รับนิสิตครูเข้าฝึกประสบการณ์วิชาชีพจำนวน 177 คนและนิสิตครูสาขาวิชาธุรกิจและคอมพิวเตอร์ศึกษาระดับชั้นปีที่ 5 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่เข้ารับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพจำนวน 18 คนโดยการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบบันทึกข้อมูล แบบสอบถามคุณลักษณะที่พึงประสงค์และแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนิสิตครู และแบบสะท้อนประสบการณ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)


ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนิสิตครูหลังการเข้ารับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพสูงกว่าก่อนการเข้ารับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ในขณะที่ผู้บริหาร และครูในสถานศึกษาที่รับนิสิตเข้าฝึกประสบการณ์วิชาชีพมีความคาดหวังให้นิสิตครูแสดงคุณลักษณะที่พึงประสงค์เพิ่มเติมใน 4 ด้านที่บ่งชี้ตามเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งต้องการให้แสดงคุณลักษณะที่พึงประสงค์เพิ่มเติมด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล ด้านผู้เรียน และด้านบทบาทอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย ส่วนความคิดเห็นของนิสิตระดับชั้นปีที่ 5 ที่เข้าฝึกประสบการณ์วิชาชีพพบว่า มี 3 ด้านที่ช่วยพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ได้แก่ ด้านการได้รับประสบการณ์จริง ด้านการได้รับคำแนะนำและความช่วยเหลือจากบุคลากรทางการศึกษาและด้านการเตรียมความพร้อมจากสถาบันผลิตครูอย่างต่อเนื่อง


ดังนั้น ผลวิจัยสามารถสรุปได้ว่า คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนิสิตครูควรประกอบไปด้วยคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 7 ด้านตามเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและความคิดเห็นของผู้บริหาร และครูภายในสถานศึกษา ทั้งนี้นิสิตครูมีการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ไปในทิศทางที่ดีขึ้น และเมื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนิสิตครูตามความคิดเห็นของผู้บริหาร และครูภายในสถานศึกษาพบว่า นิสิตครูควรได้รับการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์จากสถาบันผลิตครูก่อนเข้ารับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ในขณะที่นิสิตครูระบุว่า มีการพัฒนาจากการได้รับประสบการณ์จริง การได้รับคำแนะนำ และการช่วยเหลือจากบุคลากรทางการสถานศึกษาและการเตรียมความพร้อมจากสถาบันผลิตครูอย่างต่อเนื่อง

Article Details

How to Cite
วนิชวศิน พ. (2017). แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนิสิตครูระดับชั้นปีที่ 5 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 16(3), 169–177. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/129135
บท
บทความวิจัย

References

[1] Wantanee Aumaranun. (2008). Kānsưksā khunnalaksana khō̜ng khrū thī phưng prasong tām thatsana khō̜ng nakrīan chanchop . sām / sāmsipʻet - sāmsipsō̜ng. Retrieved February 10, 2016, from https://www.utt.ac.th/elearning/rm/rs-sm-h5.pdf

[2] ffice of the Education Council. (2008). Rāingān tittām læ pramœ̄nphon kānčhatkān rīanrū radap kānsưksā naphư̄n thān. (N.P.).

[3] Praweena Aiemyeesoon. (2016). Problems and Guided Development in Professional Experience Training of Teacher Students from Faculty of Arts Education Bunditpatanasilpa Institute. The 1st Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi National ference. Phra Nakhon Si Ayutthaya.

[4] Chaweewan Suwannapha, Onanong Woowong and Patnaree Attawong. (2011). Professional Experiences Training in Education of Students of Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Phrae Campus. Research Report. Mahachulalongkornrajavidyalaya University Phrae Campus.

[5] Teacher Committee, Department of Education. (2001). Kanpatirū kān sanhā khrū. Bangkok: Printing House of the Teachers’ Council of Thailand. Retrieved March 20, 2016, from https://e- book.ram.edu/ e-book/c/CU503/CU503-4.pdf

[6] Kwandao Chatamontra. (2011). Kānsưksā khunnalaksana khō̜ng khrū thī phưng prasong tām thatsana khō̜ng nakrīan radap chan prakāsanīyabat wichāchīp læ prakāsanīyabat wichāchīp chan sūng. Research Report. Uttaradit Technical College.

[7] Piyanard Junlek and et al. (2009). The Opinion of Administrators and Mentor Teachers toward Teaching Experience Management of Department of Agricultural Education, Faculty of Industrial Education, King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang. Journal of Industrial Education, 8 (2), p.86-98.

[8] Kanitta Hinon and Surapan Tansriwong. (2015). The Problems of the Practice of Professional Experience Teaching and the Solutions for Future Improvement, Faculty of Technical ucation, King Mongkut's University of Technology North Bangkok. Technical Education Journal, King Mongkut’s University of Technology North Bangkok, 6 (1), p.159-167.

[9] Administrative Committee of Office of the Teachers’ Council of Thailand (2011). Laksana khrū thī dī tām kēn pramœ̄n sanhā khrūdī dēn khō̜ng khuru saphā. (N.P.).

[10] Suthep Thammatakul and Anuwat Koongaew. (2012). A Study of Characteristics of the New Generation Teachers. Faculty of Education, Phetchabun Rajabhat University.

[11] Sukhontha Thongborisut. (2010). Desired Characteristic of Veterinary Instructors as Perceived by Students at Chulalongkorn University. Thesis in Master of Education Degree in Higher Education, Srinakharinwirot University.

[12] Ratchanee Ngasamun. (1990). Kānsưksā khunnalaksana khō̜ng khrū thī phưng prasong tām thatsana khō̜ng nakrīan radap matthayommasưksā sangkat krom sāman sưksā čhangwat satūn. Thesis in Master of Education, Srinakharinwirot University (Thaksin University).

[13] Surachart Sungrung. (1994). Kānphatthanā rabop kān sanhā khārātchakān khrū. (N.P.).

[14] Riruengrong Ratanavilaisakul. (2002). A Study of the Lecturer’s Characteristics Perceived as Desirable by King Mongkut’s University of Technology Thonburi Students and Lecturers. KMUTT Research & Development Journal, 25 (2), p.149-165.

[15] Preedaporn Duangjaidee and et al. (2012). Khunnalaksana khō̜ng naksưksā fưk prasopkān wichā chīp khrū tām thatsana khō̜ng phū thī kīeokhō̜ng. Journal of Institute of Physical Education, 14 (2), p.19-25.

[16] Waro Phengsawat. (2000). Kānsưksā patčhai bāng prakān thī samphan kap kān fưk prasopkān wichāchīp khrū. Academic Service Journal, 11 (3), p.6-16.