ทัศนคติต่อการที่ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และการเตรียมความพร้อมเพื่อพัฒนาศักยภาพตนเองในการเข้าสู่ตลาดแรงงาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ทัศนคติที่มีต่อการที่ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2) การเตรียมความพร้อมเพื่อพัฒนาศักยภาพตนเองในการเข้าสู่ตลาดแรงงาน 3) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลที่มีต่อทัศนคติต่อการที่ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ 4) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลที่มีต่อการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ตลาดแรงงาน เมื่อประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ ที่ลงทะเบียนเรียนในปีการศึกษา 2557 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามจากขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยการศึกษาครั้งนี้พบว่า
- นักศึกษามีระดับค่าเฉลี่ยรวมทัศนคติที่มีต่อการที่ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน อยู่ในระดับ ปานกลาง (คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.329)
- นักศึกษามีระดับค่าเฉลี่ยรวมการเตรียมความพร้อมเพื่อพัฒนาศักยภาพตนเองในการเข้าสู่ตลาดแรงาน เมื่อประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน อยู่ในระดับปานกลาง (คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.341)
- นักศึกษาที่มีความสามารถทางภาษาอังกฤษแตกต่างกัน มีการเตรียมความพร้อมเพื่อพัฒนาศักยภาพตนเองในการเข้าสู่ตลาดแรงงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
- นักศึกษาที่เรียนชั้นปีต่างกันมีการเตรียมความพร้อมเพื่อพัฒนาศักยภาพตนเองในการเข้าสู่ตลาดแรงงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
- เมื่อพิจารณารายด้านของการเตรียมความพร้อม พบว่า นักศึกษาที่มีชั้นปีที่เรียนต่างกัน มีทัศนคติด้านความเป็นผู้นำแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
- เมื่อพิจารณารายด้านของทัศนคติต่อการที่ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน พบว่านักศึกษาที่เรียนชั้นปีต่างกัน มีทัศนคติด้านการยอมรับและปรับตัวของธุรกิจเอกชนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.01
- เมื่อพิจารณารายด้านของทัศนคติต่อการที่ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน พบว่านักศึกษาที่มีความสามารถทางภาษาอังกฤษต่างกัน มีทัศนคติด้านมุมมองวัฒนธรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
จากผลการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยมีความคิดเห็นว่า ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรหาข้อมูลที่จะเป็นแนวทางเพื่อการอบรม และให้ความรู้ รวมถึงควรมีการประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ ให้ผู้สนใจรับทราบเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ AEC
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] Ratanaporn Pinkaw. Learning Style of Undergraduate Students at King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang. Journal of Industrial Education, 12(1), P.162-169.
[3] Puangrat Taweerat. 2000. Research Methods in Behavioral Sciences and Social Sciences. 8th edition. Bangkok : Chulalongkorn University Press.
[4] Chusri Wongratana. 1998. Statistical Techniques for Research. Bangkok : Chulalongkorn University Press.
[5] Orawan Silavanich. 2011. Readiness of Students of Social Administration Faculty for ASEAN Labor Market. Minor Thesis. Department of Social Work. Faculty of Social Administration. Thammasart University.
[6] Pornnary Sophabutr. 2012. An Approach to Developing Competencies of Associate ndustrial Engineers for The Preparedness of ASEAN Economic Community. Thesis (Human Resource and Organization Development). Faculty of Human Resource Development. NIDA.