การพัฒนารูปแบบการจัดภูมิทัศน์โรงเรียนเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของความรู้เรื่องการจัดภูมิทัศน์เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หลักการสิ่งแวดล้อมศึกษา แรงบันดาลใจในการมีจิตสาธารณะ และพฤติกรรมการจัดภูมิทัศน์เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมระหว่างก่อนและหลังอบรมและพัฒนานักเรียนให้สามารถเป็นวิทยากรที่จะนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปถ่ายทอดแก่ผู้อื่นและชุมชนการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองโดยใช้ การประชุมเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมแบบพาอิก ที่บูรณาการด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพการอภิปรายกลุ่มย่อย การประเมิน 3 ด้าน และการประเมิน 4 ด้าน เพื่อประเมินการแสดงบทบาทสมมุติการเป็นวิทยากร เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม จำนวน 26 คนได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนดคือการมีจิตสาธารณะและให้คำมั่นว่าจะมีส่วนร่วมตลอดกระบวนการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ Paired Sample t-test เพื่อเปรียบเทียบความรู้ก่อนและหลังการอบรม และ One Way ANOVA เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมิน 3 ด้านและผลการประเมิน 4 ด้าน
ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยของความรู้เรื่องการจัดภูมิทัศน์เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หลักการสิ่งแวดล้อมศึกษา แรงบันดาลใจในการมีจิตสาธารณะ และพฤติกรรมการจัดภูมิทัศน์เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมีผลสัมฤทธิ์การอบรม หลังการอบรม มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการอบรม ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01, 0.01, 0.01, และ 0.01 ตามลำดับ รวมทั้งได้วิทยากรการจัดภูมิทัศน์เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่สามารถถ่ายทอดความรู้เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้แก่บุคคลอื่นได้ นอกจากนี้ระหว่างการอบรมมีการประเมิน 3 ด้านเพื่อประเมินการมีส่วนร่วมของผู้รับการฝึกอบรม พบว่าคะแนนเฉลี่ยการประเมินตนเอง การประเมินโดยเพื่อนและการประเมินโดยผู้อำนวยความสะดวก ในสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคต แตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 0.05 นอกจากนี้การประเมินคุณลักษณะของการแสดงบทบาทสมมุติการเป็นวิทยากรด้วยการประเมิน 4 ด้าน พบว่า คะแนนเฉลี่ย การประเมินตนเอง การประเมินโดยเพื่อนวิทยากร การประเมินโดยผู้ฟัง และการประเมินโดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ แตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] Nakpradub, S. (2013). Knowledge and Attitude Affecting Enterprise Resources Planning (ERP)System for Managing Officer Positions at Bangkok Spring Industrial Co.,Ltd. Journal ofIndustrial Education. 12(1), p. 106.
[3] Office of National Economic and Social Development Plan. (2010). The Tenth National Economic and Social Development Plan B.E. 2550-2554. Retrieved from: htt://www.nesdb.go.th/Default.aspx?Tabid=90 (Sep 19,2013).
[4] Kotchachote, Y., Thiengkamol, N.,&Thiengkamol Khoowaranyoo, T. (2013a).Casual Relationship Model of Forest Fire Prevention. European Journal of Scientific Research, 104 (3), p. 519-532.
[5] Thiengkamol, N. (2009a). The Great Philosopher: the Scientist only know but Intuitioner is Lord Buddha. Bangkok: Prachya Publication.
[6] Thiengkamol, N. (2009b). The Happiness and the Genius can be created before Born.Bangkok: Prac0hya Publication.
[7] Thiengkamol, N. (2011e). Environment and Development Book 1. (4th ed.).Bangkok: Chulalongkorn University Press.
[8] Thiengkamol, N. (2011a). Holistically Integrative Research (2nd ed.).Bangkok:Chulalongkorn University Press.
[
9] Thiengkamol, N. (2012c). Model of Psychological Trait Affecting to Global Warming Alleviation. European Journal of Social Sciences, 30 (3), p. 484-492.
[10] Gonggool, D., Thiengkamol, N., Thiengkamol,C. (2012a). Development of Environmental Education Volunteer Network through PAIC Process. European Journal of Social Sciences, 32 (1) p. 136-149.
[11] Nakpradub, S. (2013). Knowledge and Attitude Affecting Enterprise Resources Planning (ERP)System for Managing Officer Positions at Bangkok Spring Industrial Co., Ltd.Journal of Industrial Education. 12(1), p. 106.
[12] Thiengkamol, N. (2010b). Urban Community Development with Food Security Management: A Case of Bang Sue District in Bangkok. Journal of the Association of Researcher, 15 (2), p. 109-117.
[13] Thiengkamol, N. (2011a). Holistically Integrative Research (2nd ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press.
[14] Chaiyong, P. (1995). Landscape Ornament.Bangkok: Pim Hang Ltd, Partnership 9 119 Printing Technique.
[15] Farina, A. (2000). Landscape Ecology in Action. Netherlands : Kluwer Academic Publishers.
[16] UMassAmherst, 2014). Green School Landscape Management Track. Retrieved from:https://extension.umass.edu/Landscape/educat Ion/green-school-landscape-management-tack (Jan 12,2010).
[17] InWent-DSE-ZEL. (2002). Regional Training Course “Advanced Training of Trainer”.Grand Jomtien Palace. Pattaya City. Thailand.
[18] Thiengkamol, N. (2009c). Environment and Development Book 2. (Food Security Management).Bangkok: Chulalongkorn University Press.
[19] Thiengkamol, N. (2012d). Model of Psychological Factors Affecting to Global Warming Alleviation. International Proceedings of Economic Development and Research, p. 44, 6-12.
[20] Langly, A. (1998). “The Roles of Formal Strategic Planning” Long Range Planning.Vol. 21, No.1 p. 3-120.
[21] Sproull, N.L. (1995). Handbook of Research Method: A Guide for Practitioners and Scientific teachers in the Social Science.(2nd ed.). Metuchen, NJ: Scarecrow Press.
[22] InWent-DSE-ZEL. (2002). Regional Training Course “Advanced Training of Trainer”.Grand Jomtien Palace. Pattaya City. Thailand.
[23] Thiengkamol, N. (2012d). Model of Psychological Factors Affecting to Global Warming Alleviation. International Proceedings of Economic Development and Research, p. 44, 6-12.
[24] Thiengkamol, N. (2009c). Environmentand Development Book 2.(Food Security Management).Bangkok: Chulalongkorn University Press.