การศึกษาและพัฒนาคุณลักษณะของนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาเพื่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

Main Article Content

กัญณภัทร หุ่นสุวรรณ
บุญเรือง ศรีเหรัญ
ชาตรี เกิดธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาองค์ประกอบพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และศึกษาผลของการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณลักษณะของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาเพื่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน วิธีดำเนินการวิจัย มี 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบคุณลักษณะของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 1,503 คน โดยใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยระยะนี้ คือแบบวัดคุณลักษณะของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ผลการตรวจสอบรูปแบบเหมาะสมอยู่ในระดับมาก โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน ระยะที่ 3 ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยการใช้แบบแผนการวิจัยแบบอนุกรมเวลา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนอนุบาลลำนารายณ์ จังหวัดลพบุรี ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จำนวน 60 คน และใช้การสุ่มอย่างง่ายเพื่อแบ่งเป็นกลุ่มควบคุม จำนวน 30 คน และกลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน ใช้เวลาทดลอง 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยระยะนี้คือ แบบทดสอบวัดคุณลักษณะนักเรียนระดับประถมศึกษา และแบบสังเกตพฤติกรรม สถิติและการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ การหาความเชื่อมั่นด้วยวิธีการหาสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงบุกเบิก โดยใช้โปรแกรมLisrel version 9.10 activation code : B723-95AF-55E7E-5E23 การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ


ผลการวิจัยพบว่า


1. องค์ประกอบคุณลักษณะของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านความรู้ ด้านทักษะกระบวนการด้านทักษะแห่งอนาคต และด้านลักษณะชีวิต


2. รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณลักษณะของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบได้แก่ 1) แนวคิด/ทฤษฎี/หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 7 ขั้นตอนคือการสร้างความตระหนัก การให้ตัวแบบ การฝึกคิดพิจารณา การร่วมวางแผน การนำไปปฏิบัติ การปรับพฤติกรรมให้คงทนรวมทั้งการ ให้ข้อมูลป้อนกลับ และ4) การวัดและประเมินผลรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้


3.นักเรียนที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณลักษณะของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษามีคุณลักษณะของนักเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ และคุณลักษณะของนักเรียนมีความคงที่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 รวมทั้งพฤติกรรมคุณลักษณะของนักเรียนหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
หุ่นสุวรรณ ก., ศรีเหรัญ บ., & เกิดธรรม ช. (2014). การศึกษาและพัฒนาคุณลักษณะของนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาเพื่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 13(3), 99–105. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/126777
บท
บทความวิจัย

References

[1] กระทรวงศึกษาธิการ. 2551. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

[2] สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2555. วารสารภาวะสังคมไทยไตรมาสสอง ปี 2555. [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก :htt//www.nesdb.go.th.(วันที่ค้นข้อมูล: 14 ธันวาคม 2555)

[3] ชัยวุฒิ หอมศิริ อรรถพร ฤทธิเกิด และฉันทนา วิริยเวชกุล 2552. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง คุณธรรม. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม,8(2), น.147-153.

[4] นงลักษณ์ วิรัชชัย; และสมหวัง พิธิยานุวัฒน์. 2543.โมเดลลิสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับงานวิจัย.กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

[5] กระทรวงศึกษาธิการ. ม.ป.ป. แนวการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

[6] เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. 2546.ภาพอนาคคุณลักษณะคนไทยที่พึงประสงค์.กรุงเทพฯ: วี.ที.ซี.คอมมิวนิเคชั่น.

[7] ทิศนา แขมมณี. 2555. ศาสตร์การสอน.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[8] อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา. (2556,4 มิถุนายน).คุณลักษณะเด็กไทยในอนาคต.[สัมภาษณ์โดยกัญณภัทร หุ่นสุวรรณ]

[9] Joyce B. and Weil, M. (1986). Models of teachings. 3 rd ed. Englewood Cliffs, N.J.: Prentice-Hall.

[10] ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. 2552. สอนเด็กให้มีจิตสาธารณะ. กรุงเทพฯ : วีพริ้นท์

[11] วัลลภา จันทร์เพ็ญ. 2544. การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาจริยธรรมของนักศึกษาช่างอุตสาหกรรมตามแนวคิดการปรับพฤติกรรมทางปัญญา. กรุงเทพฯ :วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[12] นงเยาว์ ไชยศรี. 2548. การวิเคราะห์องค์ ประกอบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ของนักเรียนระดับช่วงชั้นที่ 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลาเขต 2.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยทักษิณ.