การติดตามผลการฝึกงานของนักศึกษาภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมเครื่องกล วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อติดตามผลการฝึกงานของนักศึกษาภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมเครื่องกล วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ตามความคิดเห็นของพี่เลี้ยงนักศึกษาฝึกงาน อาจารย์นิเทศก์ และนักศึกษาฝึกงาน 2) เพื่อเปรียบเทียบการติดตามผลการฝึกงานของนักศึกษาภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมเครื่องกล วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ตามความคิดเห็นของนักศึกษาฝึกงานภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมเครื่องกล จำแนกตามกลุ่มนักศึกษา ออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ นักศึกษากลุ่มที่ 1 สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการออกแบบและเรื่องจักรกล แขนงการสร้างเครื่องจักรกล (MDET(M))และสาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการออกแบบและผลิตเครื่องจักรกล แขนงการออกแบบผลิตภัณฑ์ (MDET(D)) นักศึกษากลุ่มที่ 2 สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมแม่พิมพ์และเครื่องมือ แขนงแม่พิมพ์พลาสติก (TDET(P)) และสาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมพอลิเมอร์ (PoET) นักศึกษากลุ่มที่ 3 สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมแม่พิมพ์และเครื่องมือ แขนงแม่พิมพ์พลาสติก (TDET(P)-2R) และสาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมแม่พิมพ์และเครื่องมือ แขนงแม่พิมพ์โลหะ (TDET(D) - 2R) และนักศึกษากลุ่มที่ 4 สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ (MtET) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยพี่เลี้ยงนักศึกษาฝึกงานในสถานประกอบการ จำนวน 105 คน อาจารย์นิเทศก์ จำนวน 16 คน และนักศึกษาฝึกงาน จำนวน 210 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน F-test ได้ผลการวิจัย ดังนี้
1) ความคิดเห็นของพี่เลี้ยงนักศึกษาฝึกงานในสถานประกอบการเกี่ยวกับการติดตามผลการฝึกงานในสถานประกอบการของนักศึกษา ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมเครื่องกล ทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการดำเนินงานของสถานศึกษา ด้านการให้ความร่วมมือของสถานประกอบการ ด้านความรู้ของนักศึกษาฝึกงาน ด้านทักษะของนักศึกษาฝึกงาน ด้านเจตคติของนักศึกษาฝึกงาน ส่วนความคิดเห็นของอาจารย์นิเทศก์ ด้านการดำเนินงานของสถานศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่เหลือ 4 ด้านอยู่ในระดับมาก และความคิดเห็นของนักศึกษาฝึกงานอยู่ในระดับมากทุกด้าน
2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของนักศึกษาฝึกงานเกี่ยวกับการติดตามผลการฝึกงานของนักศึกษาภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมเครื่องกล วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม จำแนกออกเป็น 4 กลุ่ม พบว่าความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับการติดตามผลการฝึกงานของนักศึกษาทั้ง 4 กลุ่ม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 มีจำนวน 2 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการดำเนินการของสถานศึกษา โดยนักศึกษากลุ่มที่ 1 มีค่าเฉลี่ย ( = 3.95) สูงกว่านักศึกษากลุ่มที่ 3 มีค่าเฉลี่ย (
= 3.74) นอกจากนี้ ยังพบว่า นักศึกษากลุ่มที่ 2 มีค่าเฉลี่ย (
= 4.12) สูงกว่านักศึกษากลุ่มที่ 4 มีค่าเฉลี่ย (
= 3.82) และนักศึกษากลุ่มที่ 3 มีค่าเฉลี่ย (
= 3.74) ตามลำดับ 2) ด้านความร่วมมือของสถานประกอบการ โดยนักศึกษากลุ่มที่ 2 มีค่าเฉลี่ย (
= 4.27) สูงกว่านักศึกษากลุ่มที่ 3 มีค่าเฉลี่ย (
= 4.01) นอกจากนี้ ยังพบว่า นักศึกษากลุ่มที่ 3 มีค่าเฉลี่ย (
= 4.01) น้อยกว่านักศึกษากลุ่มที่ 4 มีค่าเฉลี่ย (
= 4.29) ส่วนด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านเจตคติ ผลการติดตามผลการฝึกงานไม่แตกต่างกัน
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] ชัยวิชิต เชียรชนะ. 2553. สถิติศึกษา. เอกสารประกอบการสอนสถิติศึกษา ภาควิชาบริหารเทคนิคศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กรุงเทพฯ. (เอกสารอัดสำเนา).
[3] ธิดาวรรณ ไพรวรรณ สบสันติ์ อุตกฤษฎ์และนภาพรรณสุทธะพินทุ. 2555. การติดตามผลโครงการฝึกงานของนักศึกษา ภาควิชาเทคโนโลยีศิลปะอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.วารสาร ครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 11(2), น. 10-22.
[4] นัฐวุฒิ อัมพรศักดิ์. 2542.แนวทางความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาและสถานประกอบการในการจัดการ ฝึกงานสำหรับนักศึกษา โรงเรียนเชียงใหม่เทคโนโลยี.วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษา ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
[5] ธำรงค์ สว่างเดือน. 2548. ความคิดเห็นของผู้บริหาร อาจารย์ และนักศึกษาต่อรูปแบบวิธีการฝึกงานของนักศึกษาสาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2546.วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
[6] ศุภกิจ วิทยาศิลป์. 2550.การศึกษาระบบและวิธีบริหารจัดการการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. ค้นเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2557, จาก https://tdc.thailis.or.th/tdc/
[7] ยุคลธร เชตุพงษ์. 2548.ปัญหาและอุปสรรคในการรับนักศึกษาเข้าฝึกงานตามแนวความคิดของสถานประกอบการ :กรณีศึกษานักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตพณิชยการพระนคร. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. 8(2), น. 14-25.
[8] ฐิติทรัพย์ พระแก้ว. 2554.การป้องกันปัญหายาเสพติดในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต34 อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่.การค้นคว้าแบบอิสระปริญญา ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.