การรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีต่อแซนด์วิชสำเร็จรูปในมื้อเช้า
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อการรับรู้และทัศนคติของผู้บริโภคแซนด์วิชสำเร็จรูปในมื้อเช้าในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาถึงการรับรู้และทัศนคติที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคแซนด์วิชสำเร็จรูปในมื้อเช้าของผู้บริโภคในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นประชากรในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครที่เคยรับประทานแซนด์วิชสำเร็จรูปในมื้อเช้า จำนวนทั้งสิ้น 385 ราย โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ Chi-square test และ One- way ANOVA ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า
1) ปัจจัยผลิตภัณฑ์ด้านรูปลักษณ์มีผลต่อการรับรู้ถึงส่วนประกอบที่สำคัญของแซนด์วิชสำเร็จรูปในมื้อเช้า
2) ปัจจัยผลิตภัณฑ์ด้านรูปลักษณ์มีผลต่อทัศนคติของผู้บริโภคเกี่ยวกับรับประทานสะดวกช่วยให้ประหยัดเวลา ทดแทนอาหารมื้อเช้าได้ และบรรจุภัณฑ์เหมาะสมง่ายต่อการรับประทาน รวมถึงปัจจัยผลิตภัณฑ์ด้านคุณภาพมีผลต่อทัศนคติของผู้บริโภคเกี่ยวกับ ความสะอาดและความปลอดภัย และรู้สึกคุ้มค่าในการซื้อรับประทาน
3) การรับรู้ที่แตกต่างกันมีผลต่อพฤติกรรมการบริโภค ด้านบุคคลที่มีส่วนต่อการตัดสินใจ และยี่ห้อที่เลือกรับประทาน
4) ทัศนคติของผู้บริโภคที่แตกต่างกันมีผลต่อพฤติกรรมการบริโภค ด้านความถี่ในการบริโภค บุคคลที่มีส่วนต่อการตัดสินใจ และยี่ห้อที่เลือกรับประทาน
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] อาร์วายทีไนน์. 2554. เอแบคโพลล์ : พฤติกรรมการรับประทานอาหารแช่แข็งของคนเมืองกรุง. ค้นเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2557, จาก https://www.ryt9.com/s/abcp/1221916
[3] วิกิพีเดีย. 2557. ความหมายของแซนด์วิช. ค้นเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2557, จากhttps://th.wikipedia.org/wiki/แซนด์วิช
[4] ตลาดแซนด์วิชในสหรัฐอเมริกา. (2556, 9-11 พฤษภาคม). [ฉบับอิเล็กทรอนิกส์]. ฐานเศรษฐกิจ. ค้นเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2557, จาก https://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=181825:2013-05-07- 07-32-02&catid=205:2010-06-17-06-09-37&Itemid=408
5] ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. 2555. ตลาดอาหารสำเร็จรูปพร้อมทานโอกาสในการขยายตลาดสู่อาเซียน. ค้นเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2557, จาก https://www.kasikornbank.com/TH/SME/Pages/Redirect_KSMECare.aspx/Article/64/28871/ตลาดอาหาร สำเร็จรูปพร้อมทานโอกาสในการขยายตลาดสู่อาเซียน
[6] Kotler, Philip. 2003. Marketing Management. New Jersey : Prentice - Hall.
[7] จันทร์กวี สุทธิพินิจธรรม. 2552. การรับรู้ทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้บริโภคต่ออาหารสร้างเสริมสุขภาพในเขตกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษานมถั่วเหลืองยูเอชที. สารนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
[8] กระทรวงสาธารณสุข, กรมอนามัย, สำนักโภชนาการ. 2545. การสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารของวัยรุ่น. ค้นเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2557, จาก https://nutrition.anamai.moph.go.th/ temp/main/view.php?group=3&id=93
[9] เฉลิมพล นิรมล. 2549. พฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
[10] ฉัตยาพร เสมอใจ. 2550. พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
[11] Engel, James F. Kollat, David T. Blackwell, Roger D. 1995. Consumer Behavior. New York : Holt, Rinehart and Winston, Inc.
[12] Schaffner, D. J., Schroder, W.R., & Earle M.D. 1998. Food Marketing. International Perspective. Boston : McGraw-Hill.