การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิง เรื่อง การใช้คำสั่งภาษาโลโก้ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนอรัญประเทศ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทเรียนอีเลิร์นนิง เรื่อง การใช้คำสั่งภาษาโลโก้ ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนแบบออนไลน์ โดยอาศัยเทคโนโลยีของเว็บและระบบบริหารจัดการรายวิชา นักเรียนสามารถศึกษาเนื้อหาและทำกิจกรรมภายในบทเรียน อีเลิร์นนิงได้ด้วยตนเอง การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนบทเรียนอีเลิร์นนิง เรื่องการใช้คำสั่งภาษาโลโก้ ที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิงที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนอรัญประเทศ ปีการศึกษา 2557 จำนวน 69 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยจับสลากห้องเรียน 2 ห้อง จากห้องเรียนทั้งหมด 8 ห้อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิง เรื่องการใช้คำสั่งภาษาโลโก้ แบบประเมินคุณภาพของบทเรียนอีเลิร์นนิง และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำนวน 30 ข้อมีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.60-1.00 ค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.38-0.80 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20-0.62 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t-test for dependent) ผลการวิจัยพบว่า
1) บทเรียนอีเลิร์นนิง เรื่องการใช้คำสั่งภาษาโลโก้ มีคุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดีมาก ( =4.75, S.D.=0.44) และคุณภาพด้านเทคนิคการผลิตสื่ออยู่ในระดับดีมาก (
=4.62, S.D.=0.49)
2) บทเรียนอีเลิร์นนิง เรื่องการใช้คำสั่งภาษาโลโก้ มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 82.98/81.14
3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการใช้คำสั่งภาษาโลโก้ของนักเรียนหลังเรียนด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิงสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] กระทรวงศึกษาธิการ. 2545. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ คุรุสภาลาดพร้าว.
[3] จินตวีร์ คล้ายสังข์. 2556. อีเลิร์นนิงคอร์สแวร์ แนวคิดสู่การปฏิบัติสำหรับการเรียน การสอนอีเลิร์นนิงในทุกระดับ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: วี.พริ้นท์ (1991).
[4] ถนอมพร เลาหจรัสแสง. 2545. Designing e-Learning: หลักการออกแบบและการสร้างเว็บเพื่อการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.
[5] Charles, B.A., and David, A.Multimedia Intelligent System for Online Learning. Retrieved April 25, 2014, from https://ieeexplore.ieee.org/xpl/mostRecentIssue.jsp?punumber=8621
[6] อนุชัย ธีระเรืองไชยศรี 2551. การออกแบบระบบการเรียนการสอน เอกสารการอบรมหลักสูตรผู้เชี่ยวชาญอีเลิร์นนิง ความรู้พื้นฐานอีเลิร์นนิง. กรุงเทพฯ: โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย.
[7] ชัยยงค์ พรหมวงศ์. 2556. การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), น.7-20.
[8] Anderson, L. W. and Krathwohl, D. R., et al. 2001. A taxonomy for learning, teaching, and assessing: A revision of Bloom’s Taxonomy of Educational Objectives (Complete edition). New York: Longman.
[9] ลัดดาวัลย์ มามาตร. 2554. บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง ข้อมูลและสารสนเทศ วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสาร. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการศึกษาวิทยาศาสตร์ (คอมพิวเตอร์) บัณฑิตวิทยาลัย สถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
[10] เยาวลักษณ์ เวชศิริ. 2548. การพัฒนาบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการทบทวน เรื่องหลักการแก้ปัญหาและการ โปรแกรมพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการศึกษาวิทยาศาสตร์ (คอมพิวเตอร์) บัณฑิตศึกษา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
[11] จีรนันท์ ทองปาน. 2557. การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิง เรื่อง การถ่ายภาพเบื้องต้น สำหรับชุมนุมถ่ายภาพ โรงเรียนราชินี กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
[12] เสาวลักษณ์ คำถา. 2552. บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชาโครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึม หลักสูตรประกาศนียบัตร วิชาชีพขั้นสูง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการศึกษา (คอมพิวเตอร์) บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
[13] ธนพงศ์ จันทร์สุข และคณะ. (2557, 9 พฤษภาคม). การพัฒนาบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อบททวนเรื่องตัวแปรและค่าคงที่. วารสารสืบเนื่องการประชุมวิชาการทางการศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 4 เรื่องการพัฒนาประสบการเรียนรู้ในชีวิตจริง: กระบวนทัศน์การเรียนรู้สู่อาเซียน, น.32-38.
[14] สุชิรา มีอาษา. 2552. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการทบทวน เรื่องการเรียงลำดับข้อมูล. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 8(2), น. 11-20.