ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ในวิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา

Main Article Content

สุมรา คงภิรมย์ชื่น
สมชาย หมื่นสายญาติ
ผดุงชัย ภู่พัฒน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับปวช.2 ในวิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา  2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านส่วนตัว ด้านครอบครัว และด้านสภาพแวดล้อมทางการเรียนกับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับปวช.2 ในวิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา และ 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับปวช.2 ในวิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนระดับปวช.2 ในวิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา ปีการศึกษา 2555 จำนวน 248 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า แบ่งเป็น 3 ส่วน 1) ข้อมูลทั่วไป 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหูคูณแบบขั้นตอน  ผลการวิจัยพบว่า


  1. นักเรียนระดับปวช.2 มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับสูง (x̄=3.95,  S.D.= 0.59)

  2. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับปวช.2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มี 8 ปัจจัย เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือสัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับผู้ปกครอง (X4)  มโนภาพแห่งตน (X1) บรรยากาศในชั้นเรียน (X9) สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับครู (X7) นิสัยทางการเรียน (X3) สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับเพื่อน (X8) เจตคติทางการเรียน (X2)  และความคาดหวังของผู้ปกครอง (X5) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันเท่ากับ .587 .540 .511 .510  .497 .441 .419 .404 ตามลำดับ

  3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับปวช.2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มี 5 ปัจจัยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือบรรยากาศในชั้นเรียน (X9)  มโนภาพแห่งตน (X1) สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับผู้ปกครอง (X4)  นิสัยทางการเรียน (X3)  และความคาดหวังของผู้ปกครอง (X5) ปัจจัยเหล่านี้สามารถร่วมกันพยากรณ์และอธิบายความแปรปรวนของแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนได้ร้อยละ 53.00 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยพหุคูณในรูปคะแนนดิบ (b) และคะแนนมาตรฐาน (β) เขียนเป็นสมการได้ดังนี้

                      gif.latex?\hat{Y}  =   - .052 + .227X4** + .227X1** + .198X 3** + .195 X9** + .169X5**


                            gif.latex?\hat{Z}_{y}   =  .247ZX 9** + .233ZX 1**.222ZX4** + .177ZX 3** + .147ZX 5**

Article Details

How to Cite
คงภิรมย์ชื่น ส., หมื่นสายญาติ ส., & ภู่พัฒน์ ผ. (2015). ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ในวิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(1), 275–282. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/124495
บท
บทความวิจัย

References

[1] สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. 2545. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

[2] เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. 2543. จอมปราชญ์ นักการศึกษา : สังเคราะห์ วิเคราะห์และประยุกต์ แนวพระราชดำรัสด้านการศึกษาและการพัฒนา คน. กรุงเทพฯ : ซัคเซสมีเดีย.

[3] อุมาพร ตรังคสมบัติ. 2544. จิตบำบัดและการ ให้คำปรึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : พิมพ์ลักษณ์.

[4] สืบพงษ์ นาคมณี. 2553. อิทธิพลของการใช้ อินเทอร์เน็ตและตัวแปรที่เกี่ยวข้องที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักเรียนนักศึกษาระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพและระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูง โรงเรียนพณิชยการตั้งตรงจิตร. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 9(2), น.222 - 229.

[5] ใกล้รุ่ง เก่าบริบูรณ์. 2544. ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจ ใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลาย สหวิทยาเขตแวงน้อย สังกัดกรมสามัญ ศึกษา จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

[6] ภัทราวิจิตร มณีประเสริฐ. 2554. ปัจจัยที่สัมพันธ์ กับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักศึกษาสาขาวิศวกรรม อุตสาหการคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศึกษา ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา และการแนะแนวบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

[7] ประเมศว์ วัฒนโอภาส และคณะ. 2548. ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักศึกษา มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ วิทยาเขตพระนครศรีอยุธยาวาสุกรี. งานวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ วิทยาเขตพระนครศรีอยุธยา วาสุกรี.

[8] วันทนา กิติทรัพย์กาญจนา. 2546. ปัจจัยที่มีอิทธิพล ต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการศึกษา วิทยาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

[9] ดวงกมล บุญธิมา. 2549. การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพล ต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักศึกษาปริญญาโท สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาการวิจัย และพัฒนาหลักสูตร บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ.