บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง เรือมอันเร

Main Article Content

จีรนันท์ ปัญญาเหลือ
ฉันทนา วิริยเวชกุล
อรรถพร ฤทธิเกิด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่องเรือมอันเร  2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างกลุ่มทดลอง ที่เรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่องเรือมอันเร และกลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยวิธีการสอนปกติ  


กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 2 วิภัชศึกษา จังหวัดสุรินทร์  ปีการศึกษา 2556 ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยวิธีการจับสลาก จำนวน 40 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 20 คน คือ กลุ่มทดลองที่เรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  เรื่องเรือมอันเร และกลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบปกติ


ประสิทธิภาพของบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหาจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างเรียนและหลังเรียน โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ 80:80 และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างกลุ่มทดลองที่เรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่องเรือมอันเร และกลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบปกติ โดยวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ t-test (Independent Sample) 


ผลการวิจัยสรุปว่า


1) บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่องเรือมอันเร มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.88:81.38 ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ 80:80


2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างกลุ่มทดลองที่เรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่องเรือมอันเร สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
ปัญญาเหลือ จ., วิริยเวชกุล ฉ., & ฤทธิเกิด อ. (2015). บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง เรือมอันเร. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(1), 191–197. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/124483
บท
บทความวิจัย

References

[1] กระทรวงศึกษาธิการ. 2551:182

[2] พนิดา บุญทองขาว. 2543. เรือมอันเร. ค้นเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2556,จาก https://www.tnrr.in.th/rir/index.

[3] ถนอมพร เลาจรัสแสง.2545. E-learning ทางเลือกใหม่ของการศึกษาในยุคเทคโนโลยี สารสนเทศ. กรุงเทพฯ : ม.ป.พ.

[4] กิดานันท์ มลิทอง. 2543. เทคโนโลยีการศึกษา และ นวัตกรรม. กรุงเทพฯ: อนุการ.

[5] Ritchie & Hoffman. 2001. An instructional design-based approach for developing onlinelearning environments. In Kahn, B. (Ed.), Web-based training. Englewood Cliffs, NJ: EducationalTechnologyPublications, from https://edweb.sdsu.edu/people/rhoffman/download/HoffmanCVLite.pdf

[6] บุญชม ศรีสะอาด 2545. วิธีการสร้างสถิติ สำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 6 กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

[7] ชัยยงค์ พรหมวงศ์ และคณะ. 2542. ระบบสื่อสาร การสอน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[8] ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. 2538. สถิติวิทยาทางการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

[9] ขนิษฐา สิทธิเทียมจันทร์.2555.พัฒนาบทเรียนผ่าน เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการทบทวน เรื่อง เคเบิ้ล โมเด็มเบื้องต้น.วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 11(3), น.33-39

[10] ศิริลักษณ์ เพ็ชรมงคล. 2551. บทเรียนบนเครือข่าย อินเทอร์เน็ตเรื่อง การจัดองค์ประกอบศิลป์. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาทางการอาชีวะและเทคนิค ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

[11] ศุภภาพร แพทยังกุล. 2551. บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่องวัดสำคัญเชิงประวัติศาสตร์ของ กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์ อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา ทางการอาชีวะและเทคนิคศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.