แนวปฏิบัติที่ดีของวิสาหกิจชุมชนเบญจรงค์บ้านดอนไก่ดี อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร

Main Article Content

จินตนา กาญจนวิสุทธิ์
วรรณดี สุทธินรากร

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีในการผลิตผลิตภัณฑ์เบญจรงค์ของวิสาหกิจชุมชนบ้านดอนไก่ดี อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร  ทำการสัมภาษณ์กับผู้นำวิสาหกิจชุมชนของเครือข่าย   และสมาชิกวิสาหกิจชุมชน
ที่ทำหน้าที่ในการผลิตและการตลาด ได้แก่ ช่างปั้น ช่างเขียนลาย ช่างลงสี  รวมทั้งสิ้น  16 คน ข้อมูลที่ได้วิเคราะห์ด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)


ผลการวิจัยพบว่า วิสาหกิจชุมชนดำเนินการในรูปของการรวมกลุ่มเป็นเครือข่าย มีการแบ่งสรรหน้าที่ในการผลิตที่เชื่อมโยงกับการตลาด การผลิตสินค้าสื่อสารถึงอัตลักษณ์ของวัฒนธรรมไทยผ่านลวดลายไทยในยุคอดีต และลวดลายไทยประยุกต์ โดยสื่อสารเชื่อมกับการให้สีที่ตรงกับอัตลักษณ์ของแต่ละชาติ ทำให้ผลิตภัณฑ์เบญจรงค์สามารถจำหน่ายในหลากหลายประเทศ สร้างรายได้ที่สูงกว่าผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายในประเทศที่มีปริมาณสูงกว่า การบริหารจัดการที่มีการแบ่งงานกันทำ การผลิตที่มีการใช้เทคโนโลยีที่มีพื้นฐานเดิมมาเมื่อครั้งเป็นลูกจ้างในโรงงานเบญจรงค์เดิมที่ล่มสลายไป ทำให้อุไร แตงเอี่ยมลูกจ้างโรงงานในอดีตได้กลายเป็นผู้นำเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนที่มีความโดดเด่นในการบริหารงาน โดยยึดหลักการของการมีส่วนร่วม ทำให้มีผู้นำกลุ่มอีก 4 คนในเครือข่ายได้เติบโตและเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเครือข่ายจนเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญของคนในชุมชนและผู้คนจากภายนอกชุมชน

Article Details

How to Cite
กาญจนวิสุทธิ์ จ., & สุทธินรากร ว. (2015). แนวปฏิบัติที่ดีของวิสาหกิจชุมชนเบญจรงค์บ้านดอนไก่ดี อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(1), 178–184. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/124481
บท
บทความวิจัย

References

[1] สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริม วิสาหกิจชุมชน. 2554. ฐานข้อมูลวิสาหกิจชุมชน. ค้นเมื่อ 5 กันยายน 2557 จาก www.sceb.doe.go.th.

[2] วรรณดี สุทธินรากร จินตนา กาญจนวิสุทธิ์ ศิริพร ตันจอ และสมเกียรติ สุทธินรากร. 2558. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ เส้นทางการเรียนรู้และ การบริหารจัดการที่ดีเพื่อยกระดับความสามารถใน อาชีพ และการมีชีวิตที่ดีของวิสาหกิจชุมชน จังหวัด สมุทรสาคร เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนตามปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการ วิจัยแห่งชาติ.

[3] บูรชัย ศิริมหาสาคร. 2548. การจัดการความรู้สู่องค์กร อัจฉริยะ. นักบริหาร. 25(4), น.39-42.

[4] Hatice, Camgoz A. 2007. Total Quality Management through Six Sigma Benchmarking a Case Study. Benchmarking : An International Journal. 14(2), pp.186-201.

[5] McAdam, R. and Kelly M. 2002. A Business Excellence Approach to Generic Benchmarking in SMEs. Benchmarking : An International Journal. 9(1), pp.120- 127.

[6] Zairi, M. and Whymark, J. 2000. The Transfer of Best Practices: How to Build a Culture of Benchmarking and Continuous Learning-Part 2. Benchmarking : An International Journal. 7(2), pp.146-147. .

[7] Lord, Robert G. and Maher, Karen J. 1993. Leadership and Information Processing: Linking Perception and Performance. London: Rout ledge.

[8] Sutthinarakorn, W. Kanjanavisut, C. Sutthinarakorn, S. and Abdulsata, P. 2014. The Implementation of Production and Marketing Activities to Enhance the Capability of the Community Economy of the Enterprises in Samutsakorn Province, Thailand. International Conference on Social Education and Management Engineering (SEME 2014). Macao Special Administrative Region of the People’s Republic of China. pp. 287-290.

[9] วัชรี โรจน์วรารักษ์ ภัคพงษ์ ปวงสุข และณัฐวุฒิ โรจน์นิรุตติกุล. 2556. ส่วนประสมทางการตลาด ในการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มชาเขียวพร้อมดื่มของ ผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 12(3), น.191-198.

[10] จุฑาทิพย์ นามวงษ์ และสิทธิชัย สมานชาติ. 2557. การเพิ่มคุณค่าเส้นใยพืชชุ่มน้ำด้วยกระบวนการ พัฒนาการออกแบบและแปรรูป. วารสารครุศาสตร์ อุตสาหกรรม, 13(2), น.42-49.