ความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและปัจจัยทำนายผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักศึกษา สาขาวิชาครุศาสตร์เกษตร คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและปัจจัยทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา 2. ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา 3. ความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและปัจจัยทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4. สมการทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาด้วยตัวแปรที่เป็นปัจจัยต่าง ๆ ที่จะมีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ศึกษาจากนักศึกษาสาขาวิชาครุศาสตร์เกษตร ชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2555 คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จำนวน 69 คน รูปแบบงานวิจัยเป็นงานวิจัยความสัมพันธ์เชิงทำนาย เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยเป็นแบบสอบถามข้อมูลเรื่อง สาขาวิชาที่เรียน เกรดวิชาต่างๆ การเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษา ความสัมพันธ์กับกลุ่มเพื่อน ความคาดหวังของผู้ปกครองต่อการเรียนและการทำงานของนักศึกษา ความมีวินัยในตนเอง แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียน นิสัยทางการเรียน และเจตคติต่อวิชาชีพครู วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย สหสัมพันธ์ของเพียรสันและการถดถอยพหุคูณแบบหลายขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา 3 การศึกษา เกรดเฉลี่ย 2.73 นักศึกษาเพศชายได้เกรดเฉลี่ย 2.66 นักศึกษาเพศหญิงได้เกรดเฉลี่ย 2.80 เกรดเฉลี่ยวิชาพื้นฐาน 2.23 เกรดเฉลี่ยวิชาชีพครูพื้นฐาน 3.41 เกรดเฉลี่ยวิชาชีพเกษตร 2.94 นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของคณะบางครั้งที่มีเวลา นักศึกษามีความสัมพันธ์กับกลุ่มเพื่อนในระดับปานกลาง ผู้ปกครองมีความคาดหวังในตัวนักศึกษาเรื่องการทำงานและการเรียนต่อในระดับมาก นักศึกษามีวินัยในตนเองและมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับมาก นักศึกษามีนิสัยทางการเรียนในระดับปานกลาง นักศึกษามีเจตคติต่อวิชาชีพครูในระดับดีมาก พบว่า 1. ผลการเรียนวิชาพื้นฐาน 2. ผลการเรียนวิชาชีพครูพื้นฐาน 3. ผลการเรียนวิชาชีพเกษตร 4. ความคาดหวังของผู้ปกครอง 5. ความมีวินัยในตนเอง 6. แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียน มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01 และ p < 0.05) เมื่อทำการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน พบว่า มี 3 ตัวแปร คือผลการเรียนวิชาพื้นฐาน ผลการเรียนวิชาชีพเกษตร เจตคติต่อวิชาชีพครู สามารถอธิบายความแปรปรวนของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (Y) ร่วมกันได้ร้อยละ 78 โดยผลการเรียนวิชาพื้นฐาน (X3) สามารถอธิบายได้ 67% ผลการเรียนวิชาชีพเกษตร (X5) อธิบายเพิ่มอีก 8% เจตคติต่อวิชาชีพครู (X12) อธิบายเพิ่มอีก 3% ซึ่งสามารถเขียนเป็นสมการทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนว่า Y = 0.51 + 0.53 X3+ 0.21 X5 + 0.19 X12
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] มานิกา วิเศษสาธร. 2552. การศึกษาบุคลิกภาพ ของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง ตามหลักทฤษฎีเทเอ. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 9(1),น. 52–65
[3] เกษตรชัย และหึม. 2542. ความสัมพันธ์คะแนนสอบ คัดเลือกองค์ประกอบด้านจิตพิสัย องค์ประกอบด้าน สิ่งแวดล้อมกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิยาลัยสงขลานคร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
[4] รุ่งกานต์ เพ็ชรสดใส. 2545. องค์ประกอบที่สัมพันธ์ กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาปริญญาตรี หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สถาบันราชภัฏ ราชนครินทร์ วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนอาชีวศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
[5] วรรณี อึ้งสิทธิพูนพร. 2544. ปัจจัยที่ส่งผลต่อ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารอาชีวศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
[6] สุจิตรา ธนะสูตร. 2552. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความ รับผิดชอบในการเรียนของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองเลย. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยและ ประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. สาขาวิชาการบริหารอาชีวศึกษา คณะครุศาสตร์ อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
[7] เอมอัชรา โครตแก้ว 2553. ปัจจัยที่ส่งผลต่อ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาประเภท วิชาบริหารธุรกิจ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน อาชีวศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.