การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่อง การเขียนโปรแกรมแบบทางเลือก สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

ยิ่งคุณ รอดทิม
กาญจนา บุญภักดิ์
ศิริรัตน์ เพ็ชร์แสงศรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่อง การเขียนโปรแกรมแบบทางเลือก ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ  และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการเขียนโปรแกรมภาษาซี เรื่อง การเขียนโปรแกรมแบบทางเลือก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างก่อนเรียนและหลังการเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนวิชาการเขียนโปรแกรม ของโรงเรียนชลราษฎรอำรุง ปีการศึกษาที่ 2/2557 จำนวน 50 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (cluster random sampling) 


เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยบทเรียนออนไลน์ วิชาการเขียนโปรแกรมภาษาซี  เรื่อง การเขียนโปรแกรมแบบทางเลือก แบบประเมินคุณภาพของบทเรียนออนไลน์  และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.33 – 0.79 มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.21 – 0.50 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.71


ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนออนไลน์ วิชาการเขียนโปรแกรมภาษาซี  เรื่อง การเขียนโปรแกรมแบบทางเลือก มีคุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดีมาก (  gif.latex?\bar{x} = 4.90) คุณภาพด้านเทคนิคการผลิตสื่ออยู่ในระดับดี (   gif.latex?\bar{x}= 4.09) และประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 84.63/80.30 และ 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ วิชาการเขียนโปรแกรมภาษาซี เรื่อง การเขียนโปรแกรมแบบทางเลือก มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

How to Cite
รอดทิม ย., บุญภักดิ์ ก., & เพ็ชร์แสงศรี ศ. (2015). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่อง การเขียนโปรแกรมแบบทางเลือก สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(3), 230–236. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/124435
บท
บทความวิจัย

References

[1] กระทรวงศึกษาธิการ. 2551. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

[2] จินตวีร์ คล้ายสังข์. 2556. e-Learning Courseware: อีเลิร์นนิงคอร์สแวร์แนวคิดสู่การปฏิบัติสำหรับการเรียนการสอนอีเลิร์นนิง ในทุกระดับ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[3] มนต์ชัย เทียนทอง. 2549. การออกแบบและพัฒนาคอร์สแวร์สําหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. กรุงเทพฯ : งานเอกสารและ การพิมพ์ กองบริการการศึกษา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

[4] วิทวัฒน์ ขัตติยะมาน และฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์. 2553. การปรับเปลี่ยนจุดมุ่งหมายทางการศึกษาของบลูม. [Online] Available : https://www.watpon.com/Elearning/bloom.pdf

[5] ชัยยงค์ พรหมวงศ์. 2520. ระบบสื่อการสอน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[6] ศุภโชค พานทอง.2553.การพัฒนาบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการทบทวนวิชาการโปรแกรมเชิงวัตถุ 2. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ (คอมพิวเตอร์) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณ ทหารลาดกระบัง.

[7] ปราณิสา อ่ำทอง. 2548. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อทบทวน เรื่อง เทคโนโลยีชีวภาพที่เกี่ยวข้องกับพืช. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ (คอมพิวเตอร์) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

[8] นพดล จักรแก้ว. 2556. การพัฒนาบทเรียนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการทบทวน เรื่อง ภาษาซี วิชา การเขียนโปรแกรมเชิงโครงสร้าง. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 12(2) น. 32-37.

[9] อภิญญา บุรีศรี. 2557. การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชาการพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยเทคนิคนราธิวาส. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 6(2) น. 133-143 .

[10] สมชาติ บุญมัติ. 2550. การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องบทประยุกต์สำหรับนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 6. ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

[11] ระเบียบ นิ้วยะวงศ์. 2550. พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนอัจฉริยะผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง กำหนดการเชิงเส้น ในสถาบันราชภัฏ. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น.บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์