การพัฒนาบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการทบทวน เรื่องกฎของโอห์ม กำลังงาน และพลังงาน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ

Main Article Content

จีราภรณ์ ไกรโสภณ
ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์
ไพฑูรย์ พิมดี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อทบทวน เรื่องกฎของโอห์ม กำลังงาน และพลังงาน ที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียน ด้วยบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อทบทวน เรื่องกฎของโอห์ม กำลังงาน และพลังงาน กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 แผนกช่างไฟฟ้ากำลัง วิทยาลัยเทคนิคปราจีนบุรี จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อทบทวน เรื่องกฎของโอห์ม กำลังงาน และพลังงาน 2) แบบประเมินคุณภาพบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อทบทวน และ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องกฎของโอห์ม กำลังงาน และพลังงาน ดัชนีความสอดคล้องซึ่งมีค่าความยากง่ายระหว่าง 0.40 – 0.73 และค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.20 – 0.53 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ซึ่งสามารถสรุปผลวิจัยได้ดังนี้


1) บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อทบทวน เรื่องกฎของโอห์ม กำลังงาน และพลังงาน มีค่าคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับดี  (gif.latex?\bar{x} =4.33, S=0.30 )


2) บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อทบทวน เรื่องกฎของโอห์ม กำลังงาน และพลังงาน มีค่าประสิทธิภาพ =80.44/82.16 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 


3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อทบทวนเรื่องกฎของโอห์ม กำลังงาน และพลังงาน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

How to Cite
ไกรโสภณ จ., ตั้งคุณานันต์ ป., & พิมดี ไ. (2015). การพัฒนาบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการทบทวน เรื่องกฎของโอห์ม กำลังงาน และพลังงาน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(3), 210–216. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/124418
บท
บทความวิจัย

References

[1] สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. 2551พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551.[Online]. Available: https://vec.go.th/ (วันที่เข้าถึงข้อมูล: 5 พฤษภาคม 2558)

[2] เอกชัย ศิริเลิศพรรณา. 2556. การพัฒนาบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อทบทวน เรื่องการเคลื่อนที่แบบโมชั่นทวีน โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 12(3) น. 38-45.

[3] ถนอมพร เลาจรัสแสง. 2545. หลักการออกแบบและสร้างเว็บเพื่อการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์

[4] ไพโรจน์ ตีรณธนากุล และคณะ. 2546. การออกแบบและผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์การสอนสำหรับ E-Learng. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ.

[5] ชัยยงค์ พรหมวงศ์ สมเชาว์ เนตรประเสริฐและสุดา สินสกุล. 2521. ระบบสื่อการสอน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[6] Bloom. B.S.1976 Human Characteristicsand School Learning. New York: McGraw Hill Book Company.

[7] เยาวน์ลักษณ์ เวชศิริ. 2548. การพัฒนาบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เพื่อทบทวน เรื่องหลักการแก้ปัญหาและโปรแกรมพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ (คอมพิวเตอร์) คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

[8] วิรดา ดำนะสิงห์. 2549. การพัฒนาบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการทบทวน วิชาการเขียนเว็บเพจภาษา HTML. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง