การสร้างสรรค์สีเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมประยุกต์สู่การออกแบบ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีจุมุ่งหมาย(1) เพื่อการศึกษาถึงภูมิปัญญาทางด้านสี(2) นำไปสู่วิเคราะห์ลักษณะสีที่เกิดจากวัสดุ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยอาศัยหลักภูมิปัญญาด้านสีและ(3) การนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ในงานออกแบบ วิธีการศึกษาประเด็นหลัก 4 แนวคิด (1) สีไทย กระบวนการด้านสีจากหนังสือ เอกสารที่เกี่ยวข้องและปราชญ์ชุมชนซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่มีมาตั้งแต่อดีตซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่มีอยู่ (2) เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยศึกษาวัสดุที่นำมาใช้ในการสร้างสีจากการศึกษาข้อมูลในส่วนของประเด็นที่หนึ่ง (3) การทดลองโดยเป็นการนำวัสดุธรรมชาติจากการศึกษาข้างต้นมาทำการทดลองสร้างสีเพื่อหาอัตราส่วนและลักษณะกายภาพที่เหมาะสมเพื่อการนำไปใช้งาน(4) การประยุกต์ ที่มุ่งเน้นถึงการนำสีที่ได้จากการทดลองมาประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์งานออกแบบเชิงพาณิชย์
ผลการศึกษาพบว่าภูมิปัญญาทางด้านเป็นศิลปะพื้นบ้านที่มีเอกลักษณ์และลักษณะเฉพาะถิ่น ยังสามารถส่งเสริมและพัฒนาเพื่อใช้ในงานผลิตภัณฑ์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในงานผลิตภัณฑ์ ในการสร้างสรรค์เชิงพาณิชย์และส่งเสริมเอกลักษณ์และสามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพซึ่งสอดคล้องกับการพัฒนาเศษฐกิจและตอบสนองความต้องการของตลาดและนโยบายของรัฐการใช้วัสดุธรรมชาติในท้องถิ่นที่อยู่ใกล้ตัวมาดัดแปลงสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งวัสดุที่สามารถประยุกต์สร้างสรรค์สีที่สะท้อนถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่มีความเชื่อมโยงกับบริบททางวัฒนธรรมแสดงถึงอัตลักษณ์
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] กลุ่มบริษัท ยูคอมจำกัด.2543. หัวโขน สมบัติศิลป์ แผ่นดินไทย. กรุงเทพฯ:กลุ่มบริษัท ยูคอมจำกัด
[3] วัฒนะ จูฑะวิภาค.2552.ศิลปะพื้นบ้าน.กรุงเทพ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
[4] วิบูลย์ ลี้สุวรรณ.2556.ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน.กรุงเทพฯ : ต้นอ้อ แกรมมี่.
[5] ไพโรจน์ พิทยเมธี .2558.THAI TONE. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.mediafire.com/file/ b969jnpk4o4gkto/THAITONE.zip.(วันที่ค้นข้อมูล: 2 กุมภาพันธ์ 2559)
[6] ยุวดี ทองอ่อน .2558. ภูมิปัญญาพื้นบ้าน : การสร้างสรรค์วัสดุเพื่อเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม.ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาศิลปะการออกแบบ. คณะมัณฑณศิลป์. มหาวิทยาลัยศิลปากร
[7] รัษฎา วงศ์อนันต์ อุดมศักดิ์ สารีบุตรและจตุรงค์ เลาหะเพ็ญแสง.2558.การศึกษาศิลปวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อเพื่อการออกแบบพัฒนาเครื่องประกอบการแต่งกาย วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม,14(3),น.368-375.
Wong a-nan R., Saributr A, and Louhapensang J.2015.Study of Ethnic Tailue Cultural Art for Accessory Product Design. Journal of Industrial education, 14(3),p.368-375
[8] สถาพร ดีบุญมี ณ ชุมแพ และ พิชัย สดภิบาล. (2552).วัสดุพื้นถิ่นภาคกลางที่ใช้ในการผลิตครุภัณฑ์.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ:โอเดียนสโตร์.
[9] Akira Kurosawa.2014.THE COLOR THESAURUS.ค้นเมื่อวันที่5 มิถุนายน 2559.จากhttps://ingridsundberg.com/ 2014/02/04/the-color-thesaurus/
[10] Hopper,Robin.1984. The Ceramic Spectrum. rev. Pensylvania: Chilton Book Company.