การรับรู้ระบบความปลอดภัยและพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงาน ของพนักงานฝ่ายผลิต ในบริษัทผลิตเบเกอรี่แห่งหนึ่ง ในเขตนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ระบบความปลอดภัยและระดับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงาน เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการรับรู้ระบบความปลอดภัยและพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และเพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ระบบความปลอดภัยและพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิต ในบริษัทผลิตเบเกอรี่แห่งหนึ่ง ในเขตนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ พนักงานฝ่ายผลิต จำนวน 270 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test, One-way ANOVA และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า
- ระดับการรับรู้ระบบความปลอดภัยและระดับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานอยู่ในระดับดี
- ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ระบบความปลอดภัย ได้แก่ ปัจจัยด้านอายุงานและปัจจัยด้านระดับการศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนปัจจัยที่ไม่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ระบบความปลอดภัยคือ เพศ อายุและสถานภาพสมรส
- ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงาน ประกอบด้วย ปัจจัยด้านสถานภาพสมรสและปัจจัยด้านระดับการศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
- การรับรู้ระบบความปลอดภัย มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] Anton. 1979. Occupational Safety and Health Management.
[3] Thai Industrial Standards Institute.iN.1998.iRecommended standards for occupational health and safety management systems-TIS.1800. Journal for Quality and Technical Management industry,i5 (July-August 1998).ip.43-45.
[4] Wilpert, B. and Qvale, T. 1993. Reliability and Safety in Hazardous Work System. Exeter : Wheatons.
[5] Boontum Kitpredaborisut. N.2002. Statistical analysis for research. 2nd ed. Bangkok : Srianan.
[6] Tippawan Sirirat. N.2014. Factors affecting perception toward safety ohsas 18001 system of operator in thai nippon steel engineering & construction corporation. Journal of Industrial Education, 13(1), p.125-132
[7] Satit Wongsawan. N.1986. Psychological studies. Bangkok : Ruamsarn.
[8] Kast, F.E. and Rosenzweig, J.E. 1979. Organization and Management : A System and Contingency Approach. Tokyo : McGraw-Hill kogakusha.
[9] Rattanawan Srithongsathaen. N.1998. Factors Affecting Perception toward Safety System and Safety Behavior of Workers in Industrial Factory. Masterdegree of Science Industrial Psychology, Kasetsart University.