การพัฒนาเครื่องมือและตัวชี้วัดคุณลักษณะของหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน ในชุมชนมุสลิม กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนในชุมชนมุสลิม กรุงเทพมหานคร และ 2) พัฒนาเครื่องมือและตัวชี้วัดคุณลักษณะของหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนในชุมชนมุสลิม กรุงเทพมหานคร แบ่งการดำเนินการวิจัยเป็น 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 ศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนในชุมชนมุสลิม กรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพคือการเก็บข้อมูลความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนในชุมชนมุสลิม โดยใช้การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์เชิงลึก จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ หัวหน้าศูนย์ฯ 6 คน ตัวแทนครู 18 คน ตัวแทนคณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ 12 คน ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 2 นำผลจากระยะที่ 1 มาพัฒนาเครื่องมือและตัวชี้วัดคุณลักษณะโดยสร้างเป็นแบบสอบถามตัวชี้วัดคุณลักษณะของหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนในชุมชนมุสลิม กรุงเทพมหานคร ซึ่งแบบสอบถามฉบับนี้มีค่าความเที่ยงของทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 และ ได้นำแบบสอบถามไปสำรวจความเห็นจากหัวหน้าศูนย์ฯ และครูของศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนในชุมชนมุสลิม กรุงเทพมหานคร 2 ครั้งโดยมีจำนวนผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 150 คน และได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และ วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับหนึ่งของโมเดลตัวชี้วัดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนในชุมชนมุสลิม โดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์ทางสถิติสำเร็จรูป
ผลการวิจัย1) พบว่าคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนในชุมชนมุสลิม กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 26 ตัวแปรคุณลักษณะ 2) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจพบว่า มีเพียง 25 ตัวแปรสามารถจัดเป็นองค์ประกอบได้ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ คุณลักษณะด้านการประพฤติปฏิบัติตน (beh) คุณลักษณะด้านการพัฒนาองค์กร (dev) คุณลักษณะด้านความรู้ความสามารถ (know) และคุณลักษณะด้านการเป็นผู้นำและการบริหารจัดการ(lead) จากนั้นทำการตรวจสอบองค์ประกอบเชิงยืนยันผลพบว่า เชิงยืนยันอันดับแรก พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจากค่าไค-สแควร์ มีค่าเท่ากับ 0.54 ซึ่งมีความน่าจะเป็นเท่ากับ 0.45 มีองศาอิสระเท่ากับ 1 (Chi-Square = 1.19, df = 1, p = 0.27)
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] Freud, S. 1965. The Origin and Development of Psychoanalysis. Chicago: H. Regnery Co.
[3] Office of Community Development Bangkok. (2002). Early Childhood Centers in Communities, Guidelines for management development of early childhood centers. Bangkok
[4] Japakeya. I. 2006. Educational Philosophy in Relation to Culture and Community retrieved from https://www.gotoknow.org/posts/39690 : Conference on Academic Market Projecton 28 February 2006.
[5] Saleemad, K. 2015. Leadership Competency for Islamic School Leaders. International Journal of Humanities and Management Sciences (IJHMS). Volume 3, Issue 2 (2015) ISSN 2320–4044 (Online).
[6] Seesant, B. 2014. Factor Analysis of Servant Leadership’s Characteristics Under the Jurisdiction of Vocational Education Commission, Ministry of Education. Journal of Industrial Education.13(2), p. 58-65.
[7] Saleh, A. M. J. 2005. Education Leadership and Creativity: An Islamic Perspective. Amman: Dar El Falah.
[8] Aebed, A. 2006. A Study of Islamic Leadership Theory and Practice in K-12 Islamic Schools in Michigan. Dissertation. Department of Educational Leadership and Foundations, Brigham Young University.
[9] Santanapipat, C. 2010. Pilot Project of Management of Early Childhood Center in Municipal School 4 of Watsribuaban to Execellence. Journal of Graduate School of Rajabhat Walaialongkorn University. 3(2). p. 41-52.
[10] Po-ngern, T. 2015. Factor Affecting the Policy Implementation Success of Child Development Center in Baungyitho Municipality, Thanyaburi District Pathumthani Province. Journal of Graduate Study Rajabhat Suansunandha. 2(2), p. 320-328.