ส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อข้าวอินทรีย์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อข้าวอินทรีย์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2. เปรียบเทียบส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อข้าวอินทรีย์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ผู้วิจัยได้ทำการรวบรวมข้อมูลจากผู้บริโภคข้าวอินทรีย์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 384 ราย โดยใช้เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ คือแบบสอบถาม และใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบจำแนกทางเดียว (One way ANOVA) ในการทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้
ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับส่วนประสมทางการตลาดโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับความสำคัญจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ ผู้บริโภคที่มีอายุแตกต่างกันให้ความสำคัญกับส่วนประสมทางการตลาดของข้าวอินทรีย์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผู้บริโภคที่มีสถานภาพสมรสที่แตกต่างกัน ให้ความสำคัญกับด้านผลิตภัณฑ์และด้านราคาของข้าวอินทรีย์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผู้บริโภคที่มีระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน ให้ความสำคัญกับด้านราคาและด้านสถานที่จัดจำหน่ายของข้าวอินทรีย์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผู้บริโภคที่มีรายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกัน ให้ความสำคัญกับด้านการส่งเสริมการตลาดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และให้ความสำคัญกับส่วนประสมทางการตลาดโดยรวมของข้าวอินทรีย์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผู้บริโภคที่มีอาชีพที่แตกต่างกันให้ความสำคัญกับด้านการส่งเสริมการตลาดของข้าวอินทรีย์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] สหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ. ความหมาย ของ“เกษตรอินทรีย์”.ประชุมใหญ่ของสหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จากhttps://www.greennet.or.th/article/317 (วันที่ค้นข้อมูล 10 ตุลาคม 2557).
[3] มูลนิสายใยแผ่นดิน/สหกรณ์กรีนเนท. 2550.ตลาดเกษตรอินทรีย์ไทย. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.greennet.or.th/article/1009 (วันที่ค้นข้อมูล 10 ตุลาคม 2557).
[4] วิฑูรย์ ปัญญากุล. 2555. สถานการณ์เกษตรอินทรีย์ไทยเกษตรอินทรีย์โลก.กรุงเทพฯ: มูลนิธิสายใยแผ่นดิน.
[5] รวิวรรณ รักถิ่นกำเนิด. 2557. แฉเกษตรอินทรีย์แพงเว่อร์เพราะหีบห่อ หวังเชื่อมถึงผู้บริโภค-หนีพันธะสัญญา. ศูนย์ข่าว TCIJ เจาะข่าวการเกษตร. 23 มกราคม2557.
[6] วิฑูรย์ ปัญญากุล. 2556. ภาพรวมเกษตรอินทรีย์ไทย 2555-56. กรุงเทพฯ:มูลนิธิสายใยแผ่นดิน/กรีนเนท.
[7] ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. 2550. ข้าวอินทรีย์: ศักยภาพการตลาดที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง. มองเศรษฐกิจ,ฉบับที่ 1991 18 พฤษภาคม 2550.
[8] วัลลภา แวน วิลเลียนส์วาร์ด. 2556. แนะกิน'ข้าวอินทรีย์' ไร้เคมี-ต้านอนุมูลอิสระ.ข่าวสดรายวัน ฉบับที่ 8288 วันที่ 08 สิงหาคม พ.ศ. 2556.
[9] Kotler, Philip. 2003. Marketing Management.11 th ed. Upper Sanddle River, New Jersey :Prentice Hall .
[10] สิทธิพร พรอุดมทรัพย์. 2556.การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคการตลาดออนไลน์ข้าวอินทรีย์ที่เอื้อต่อการเข้าใช้งานระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จังหวัดอุตรดิตถ์.วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
[11] อรุณี เอกพาณิชย์ถาวรและกิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. 2554.ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผักปลอดสารพิษในเขตกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจ มหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยรังสิต.
[12] วารุณี จีนศร. 2554. ปัจจัยที่ใช้ในการตัดสินใจซื้อผักปลอดสารพิษของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
[13] กาญจนา ชัยฤกษ์. 2548. การศึกษาการตลาดผักปลอดสารพิษในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา.วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
[14] สรียา อัชฌาสัยและลักคณา วรศิลป์ชัย. 2553.ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ข้าวสารบรรจุถุงของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร.วารสารปัญญาภิวัฒน์, 3(2), น. 22 – 37.
[15] อริศรา รุ่งแสง. 2555. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อผักปลอดสารพิษของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
[16] ณัฐพล ชอบอาภรณ์ และคณะ. 2554.ปัจจัยในการตัดสินใจเลือกซื้อข้าวสารบรรจุถุงของผู้บริโภคในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 10 (พิเศษ), น. 247-259.
[17] อัญมณี เย็นเปี่ยม และสยาม อรุณศรีมรกต.2554.ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อข้าวหอมมะลิอินทรีย์ของผู้บริโภค. วิทยานิพนธ์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.