ผลของการใช้บทเรียนอีเลิร์นนิ่งโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่อวิชาการสร้างผลงานด้วยคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน วิชาการสร้างผลงานด้วยคอมพิวเตอร์ เรื่องตัวแปรชนิดอาเรย์และสตริง ที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิ่งโดยใช้ปัญหาเป็นฐานกับนักเรียนที่เรียนด้วยวิธีปกติ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ที่เรียนวิชาการสร้างผลงานด้วยคอมพิวเตอร์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 ที่ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จำนวน 3 ห้องเรียน จากห้องเรียนทั้งหมด 4 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย บทเรียนอีเลิร์นนิ่งโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน แบบประเมินคุณภาพ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (t-test แบบ independent) ผลการวิจัยพบว่า
1) บทเรียนอีเลิร์นนิ่งโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน มีคุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดีมาก ( =4.57, S.D.=0.32) และคุณภาพด้านเทคนิคการผลิตสื่ออยู่ในระดับดีมาก (
=4.67, S.D.=0.47)
2) บทเรียนอีเลิร์นนิ่งโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน มีประสิทธิภาพ E1:E2 เท่ากับ 80.86:83.11
3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องตัวแปรชนิดอาเรย์และสตริง ของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิ่งโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน สูงกว่านักเรียนที่เรียนวิธีปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] อรุณรุ่ง ปภาพสิษฐ. Problem-Based Learning: การเรียนที่ใช้เป็นปัญหาเป็นหลัก. ค้นเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2558,จากhttps://www.pnru.ac.th/fac/tedu/upload-files/uploadfile/29/6e682264abd39e8c64b39960ff4c2a0b.pdf
[3] ศิริรัตน์ เพ็ชร์แสงศรี. 2555.การเรียนแบบผสมผสาน และการประยุกต์ใช้.วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 11(1) , น.2.
[4] Seels, B. and Glasgow, Z. 1998. Making Instructional Design Decisions. (2nd ed.). Columbus, Ohio : Prentice-Haii.
[5] ชัยยงค์ พรหมวงศ์. 2520. ระบบสื่อการสอน.กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย.
[6] ทิศนา แขมมณี. 2555. ศาสตร์การสอน.กรุงเทพฯ :สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[7] นพดล จักรแก้ว. 2556.การพัฒนาบทเรียนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการทบทวน เรื่อง ภาษาซี วิชา การเขียนโปรแกรมเชิงโครงสร้าง.วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 12(2), น.32-37.
[8] อุมาพร ต้อยแก้ว. 2554.การพัฒนาบทเรียนออนไลน์โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ วิชาการเขียนโปรแกรมภาษาซี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
[9] วัชราภรณ์ วังมนตรี. 2552.การพัฒนาบทเรียนออนไลน์โดยใช้เทคนิคปัญหาเป็นฐาน วิชาการเขียนโปรแกรมภาษาซี หลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง.วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ