ปัจจัยการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่มีผลต่อการธำรงรักษาพนักงาน ในบริษัท เด็นโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด โรงงานบางปะกง
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ เพื่อศึกษาระดับการธำรงรักษาพนักงานในบริษัท เด็นโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด โรงงานบางปะกง และศึกษาปัจจัยการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่มีผลต่อการธำรงรักษาพนักงาน ในบริษัท เด็นโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด โรงงานบางปะกง กลุ่มตัวอย่างคือพนักงานเฉพาะที่เป็นผู้ได้รับการปรับระดับที่ได้จากการสุ่มอย่างง่ายด้วยขนาดตัวอย่างจำนวน 173 คน โดยใช้แบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.933 เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณโดยวิธีนำตัวแปรเข้าทั้งหมด ในการทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยพบว่า ระดับการธำรงรักษาพนักงานในบริษัท เด็นโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด โรงงานบางปะกง โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยปัจจัยด้านการสนับสนุนพนักงาน ด้านความก้าวหน้าในอาชีพ ความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานและด้านเงินเดือนและค่าตอบแทนมีผลต่อการธำรงรักษาพนักงานในบริษัท เด็นโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด โรงงานบางปะกงโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมไม่มีผลต่อการธำรงรักษาพนักงานโดยรวม
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] อับดุลรอมัน เปาะซา 2556.การธำรงรักษาบุคลากรโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามตามทัศนะของครูในจังหวัดนราธิวาส วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
[3] จิรัฐกานต์ สุวรรณกาญจน์. 2556. กลยุทธ์การธำรงค์รักษาบุคลากรของสถานศึกษาเอกชนในเขตภาคเหนือตอนบน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
[4] Yamane, T.1973. Statistic: An IntroductoryAnalysis. 3 rd ed. New York: Harper and Row.
[5] พวงรัตน์ ทวีรัตน์. 2543. วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์.พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[6] ชูศรี วงศ์รัตนะ. 2537. เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[7] เอกพล บุญญะฤทธิ์. 2551. ปัจจัยทางทัศนคติที่มีผลต่อความจงรักภักดีของพนักงานระดับปฏิบัติการ กรณีศึกษา การไฟฟ้านครหลวงสำนักงานใหญ่ เพลินจิต.วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร
[8] Mathis, R. L., and Jackson, J, H. 2004.Human Resources Management.10 th ed. Singapore: Seng Lee Press.
[9] สุภาพร ทรงสุจริตกุล และคนอื่นๆ. 2552.ปัจจัยที่ส่งผลต่อการรักษาคนเก่ง (Talent Retention) กรณีศึกษากลุ่มผู้บริหารบริษัท ทรู วิชั่นส์ จำกัด(มหาชน).วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
[10] Jubran Saleh, Ali Mohammad. 2551.การบริหารการศึกษาในอิสลาม. แปลจาก Educational Admistration : An Islamic Perspectives โดย นิเลาะ แวอุเซ็ง. สงขลา : หาดใหญ่กราฟฟิก.
[11] ปรียารัตน์ ธัญญะกิจ. 2550.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท แอล แอนด์ เอสชิบาคอน (ประเทศไทย) จำกัด.วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัย ราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
[12] อิทธิพล มหาวงศนันท์. 2550. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลาออกในทัศนคติของพนักงานบริษัท เชียงราย บิ๊กซี จำกัด จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
[13] ณัฐวุฒิ เตชันวัย 2550. ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานในอุตสาหกรรมประกอบยานยนต์ (ประเทศไทย).วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 7(1), น. 72-86.