ความตระหนักเชิงอภิวัจนปฏิบัติศาสตร์ของผู้เรียนชาวไทยที่เรียน ภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ

Main Article Content

อตินุช ปิ่นเงิน
จิรันธรา ศรีอุทัย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษาระดับความตระหนักเชิงอภิวัจนปฏิบัติศาสตร์ของผู้เรียนชาวไทยที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ ซึ่งมีระดับความสามารถและประสบการณ์ภาษาอังกฤษที่แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้เรียนชาวไทยที่มีระดับความ


สามารถและประสบการณ์ภาษาอังกฤษในระดับที่ต่างกันจำนวน 4 กลุ่ม เครื่องมือวิจัยที่ใช้วัดระดับความตระหนักเชิงอภิวัจนปฏิบัติศาสตร์คือ แบบสอบถามการตัดสินความเหมาะสมทางวัจนปฏิบัติศาสตร์ (Pragmatic judgment task) ซึ่งประกอบด้วย 12 สถานการณ์ที่กลุ่มตัวอย่างต้องตัดสินว่าคำขอโทษในแต่ละสถานการณ์เหมาะสมหรือไม่ ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างทั้ง 4 กลุ่มมีระดับความตระหนักเชิงอภิวัจนปฏิบัติศาสตร์ที่แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับความสามารถและประสบการณ์ภาษาอังกฤษสูงมีระดับความตระหนักเชิงอภิวัจนปฏิบัติศาสตร์สูงที่สุด นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีความสามารถทางภาษาอังกฤษสูงแต่มีประสบการณ์ภาษาอังกฤษต่ำยังคงมีระดับความตระหนักเชิงอภิวัจนปฏิบัติศาสตร์สูงกว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีความสามารถทางภาษาอังกฤษต่ำแต่ประสบการณ์ภาษาอังกฤษสูง ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า (1) ระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษสูง หรือระดับประสบการณ์ภาษาอังกฤษสูงเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอสำหรับการพัฒนาความตระหนักเชิงอภิวัจนปฏิบัติศาสตร์ และ (2) ทั้งความสามารถและประสบการณ์ภาษาอังกฤษเป็นสองปัจจัยสำคัญในการพัฒนาความตระหนักเชิงอภิวัจนปฏิบัติศาสตร์ในหมู่ผู้เรียนภาษาอังกฤษ

Article Details

How to Cite
ปิ่นเงิน อ., & ศรีอุทัย จ. (2016). ความตระหนักเชิงอภิวัจนปฏิบัติศาสตร์ของผู้เรียนชาวไทยที่เรียน ภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 15(2), 191–198. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/122718
บท
บทความวิจัย

References

[1] Olshtain, E. and S. Blum-Kulka. (1985). Degree of approximation: Nonnative reactions to native speech act behavior. Input in second language acquisition. Massachusette: Newbury House.

[2] Bardovi-Harlig K. and Z. Dornyei (1998). Do language learners recognize pragmatic violations? Pragmatic versus grammatical awareness in instructed L2 earning. TESOL Quarterly 32: 233-262.

[3] Niezgoda, K. and C. Rover. (2001). Pragmatic and grammatical awareness. Pragmatics in language teaching. Cambridge: Cambridge University Press.

[4] Nipaspong, P. (2011). Pragmatic awareness levels and patterns reported by Thai learners of English and the native speakers of American English. Veridian E- Journal SU, 4: 704-728.

[5] Kasper, G. and S. Blum-kulka. (1993). Interlanguage pragmatics: An introduction. Interlanguage pragmatics. New York: Oxford International Press.

[6] Boxer, D. (2002). Discourse issues in cross-cultural pragmatics. Annual review of applied linguistics 22: 150-167.

[7] Isarankura, S. (2008). Acquisition of the English Article System by Thai Learners: An Analysis of Metalinguistic Knowledge in English Article Use. Bangkok, Thailand, Chulalongkorn University. Ph.D.

[8] Kasper, G. and M. Dahl (1991). Research Methods in Interlanguage Pragmatics. USA: University of Hawaii.

[9] Matsumura, S. (2003). Modelling the relationship among interlanguage pragmatic development, L2 proficiency, and exposure to L2. Applied Linguistics, 24: 465–491.

[10] Garcia, P. (2004). Developmental Differences in Speech Act Recognition: A Pragmatic Awareness Study. Language Awareness 13(2): 96-115.

[11] Schauer, G. (2006). Pragmatic awareness in ESL and EFL contexts: Contrast and Development. Language Learning56: 269-318.

[12] Modehiran, P. (2005). Correction making among Thais and Americans: a study of cross-cultural and interlanguage pragmatics. Ph.d. dissertation. Chulalongkorn University.

[13] Safont Jorda, M. P. (2003). Metapragmatic awareness and pragmatic production of third language learners of English: A focus on request acts realizations. International Journal of Bilingualism 7(1): 43-68.