ระดับความสำเร็จของการนำระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กรมาใช้บริหารงานอย่างมีประสิทธิผลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความสำเร็จของการนำระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กรมาใช้บริหารงานอย่างมีประสิทธิผล 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการนำระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กรมาใช้บริหารงานกับประสิทธิผลขององค์การบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารจำนวน 142 คน ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีการนำระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กรมาใช้บริหารงาน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกำหนดโควตา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยหาค่าความแปรปรวน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า ความสำเร็จของการนำระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กรมาใช้บริหารงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในภาพรวมมีความสำเร็จอยู่ในระดับมาก ( =4.00) โดยการนำด้านสารสนเทศมาใช้ มีความสำเร็จมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านวัตถุดิบ ด้านการเงิน ด้านบุคลากร และด้านเครื่องมืออุปกรณ์ ตามลำดับ ส่วนประสิทธิผลขององค์การ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีการนำระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กรมาใช้บริหารงานด้านกำไร/ขาดทุน มีประสิทธิผลขององค์การอยู่ในระดับมาก (
=4.18)
ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ขนาดขององค์กร และระยะเวลาการนำระบบ ERP มาใช้ที่แตกต่างกันประสิทธิผลขององค์การไม่แตกต่างกัน และการนำระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กรมาใช้บริหารงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลขององค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตัวแปรที่ส่งผลกับประสิทธิผลขององค์การบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลัก ทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีการนำระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กรมาใช้บริหารงาน คือ ด้านสารสนเทศ (X1) ด้านบุคลากร (X2) ด้านการเงิน (X3) และด้านเครื่องมืออุปกรณ์ (X4) โดยตัวแปรเหล่านี้สามารถร่วมกันพยากรณ์การนำระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กรมาใช้บริหารงานอย่างมีประสิทธิผลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้ร้อยละ 77.40 สามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ ได้ดังนี้
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ คือ Y / = -.975 + .431X1 + .384X2 + .361X3 + .106X4
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ Z/Y = .344ZX1 + .292ZX2 + .288ZX3 + .131ZX4
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] ประเวศน์ มหารัตน์สกุล. 2554. องค์กรและการจัดการ. กรุงเทพฯ : ปัญญาชน.
[3] Monk, Ellen F. and Wagner, Bret J. 2009. Concepts in Enterprise Resource Planning. 3rd ed. Massachusetts, Boston: Thomson.
[4] Mcshane, Steven L. and Von Glinow, Mary A. 2010. Organizational Behavior: Emerging Knowledge and Practice for the Real World. 5th ed. New York : McGraw-Hill.
[5] ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. 2557.“รายชื่อบริษัทสมาชิก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.set.or.th/set/.สืบค้นเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2557.
[6] Yamane, Taro. 1970. Statistics: An Introductory Analysis. 2nd ed. New York: Harper & Row Publishers.
[7] ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. 2548. การวิจัยธุรกิจ. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
[8] อุบลวรรณ ขุนทอง. 2557. ปัจจัยความสำเร็จของการใช้ระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กร ด้านการบัญชีและการเงินที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงบทบาทของนักบัญชีและนักการเงินและส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพการดำเนินงานในองค์กรธุรกิจไทย. วารสารสุทธิปริทัศน์, 28(86), น. 295-321
[9] วรรษา ตั้งวราลักษณ์. 2553. การศึกษาประสิทธิ ภาพการดำเนินงานด้วยโปรแกรม ระบบบริหารทรัพยากรองค์กร (ERP) กรณีการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต/ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
[10] สุนันต์ นาคประดับ. 2556. ความรู้เจตคติที่มีต่อระบบการวางแผนทรัพยากรธุรกิจของพนักงานระดับจัดการบริษัทบางกอกสปริงอินดัสเตรียล จำกัด. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 12(1),น. 106-116.
Nakpradub, S. 2013. Knowledge and Attitude Affecting Enterprise Resources Planning (ERP) System for Managing Officer Positions at Bangkok Spring Industrial Co., Ltd. Journal of Industrial Education, 12(1), p. 106-116.
[11] วิวัฒน์ ไวโรจนกุล. 2553. ปัจจัยที่มีผลต่อความ สำเร็จในการนำระบบ ERP มาใช้ในธุรกิจรับเหมาก่อสร้างขนาดกลาง และขนาดย่อม. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.