การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนอาชีวศึกษา: ความท้าทายภายใต้ทักษะวิชาชีพ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนเป็นแนวคิดของการพัฒนาการศึกษาซึ่งเป็นทั้งการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครู การพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน การพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา และการพัฒนาวิชาชีพครูให้สมกับเป็นวิชาชีพชั้นสูง เนื่องจากการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาเป็นกำลังหลักในการสร้างและพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานของประเทศ ทำให้การพัฒนาครูอาชีวศึกษาเพื่อส่งเสริมและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาจึงเป็นสิ่งสำคัญ ความท้าทายของการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนอาชีวศึกษาคือ การที่การปฏิบัติหน้าที่ของครูมิใช่เพียงเป็นผู้สอนเนื้อหาวิชาแต่เพียงเท่านั้น หากแต่ครูต้องแสดงบทบาทเป็นนักวิจัยที่ทำหน้าที่วิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยเฉพาะด้านทักษะวิชาชีพและพัฒนานวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ในการพัฒนาประเทศ ลักษณะสำคัญของการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนอาชีวศึกษาเป็นการวิจัยที่การพัฒนาทักษะที่ต้องกระทำได้อย่างรวดเร็ว และมีลักษณะเป็นวงจรที่สามารถกระทำได้อย่างต่อเนื่อง จึงเป็นหน้าที่สำคัญของครูที่ต้องให้ความสนใจและให้ความสำคัญกับการทำวิจัยเป็นอย่างมาก ผลที่ได้จะเกิดกับนักเรียนโดยตรง โดยที่ครูและสถานศึกษาจะได้รับผลประโยชน์พลอยได้หากครูทำวิจัยอย่างจริงจังและถูกต้องตามหลักวิชาการ
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
Tongpitak, N., Wongprasert, J., & Trisuth, C. 2013. Learning network for developing technician teachers to be researchers, 5(1), p. 53-63.
[2] พศิน แตงจวง และคณะ. 2551. การเตรียมบุคลากรเข้าสู่ภาคแรงงาน: การศึกษาเปรียบเทียบไทยและเวียดนาม 1980-2025. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
[3] โสภณ สวยขุนทด. 2558. ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานบุคคลด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานราชการกับ สมรรถนะของผู้ประกอบวิชาชีพครู. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
Suaikhuntod, S. 2015. The personnel management in enhancing teacher work efficiency and the teacher competency under Nakonratchasima Primary educational service area office 4. Thesis in Educational Administration, Rajamangala University of Technology Thanyaburi.
[4] ปริญญา มีสุข. 2558. ความคิดเห็นเกี่ยวกับการศึกษารายวิชาวิจัยทางการศึกษา. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี.
Meesuk, P. 2015. A viewing of educational research methodology course.Pathum-thani: Rajamangala Universityof Technology Thanyaburi.
[5] Bissonnette, J. D. & Caprino, K. 2014. A call to action research: action research as an effective professional development model. Mid-Atlantic Education Review, 2(1),p. 11-22.
[6] Smith, E. & Clayton, B. 2012. How vocational education and training researcher use theory in their research. International Journal of Training Research, 10(3), p.251-258.
[7] สุภาภรณ์ สิงหเสนา. 2555. การพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยในชั้นเรียนด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม: กรณีศึกษาวิทยาลัยการอาชีพท่าตูมอาชีวศึกษา จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร การศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
Singhasena, S. 2012. Teachers potential development on classroom action research by participatory action research process : a case study of Thatum industrial and community education college, Surin vocational education. Thesis in Educational Administration,Surin Rajabhat University.
[8] สุวิมล ว่องวานิช. 2550. การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[9] Kemmis, K. & McTaggart, R. 2000. Participatory action research.Handbook of qualitative research.London: SAGE.