การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดกิจกรรมการศึกษา ระดับมัธยมศึกษาของโรงเรียนสาธิต ในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

วิไลรัตน์ ขันธ์เจริญ
ชไมพร ดิสถาพร
ราชันย์ บุญธิมา
สมบูรณ์ บูรศิริรักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดกิจกรรมการศึกษาระดับมัธยมศึกษาของโรงเรียนสาธิต ในเขตกรุงเทพมหานคร การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ตอน ตอนที่ 1 ศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดกิจกรรมการศึกษาระดับมัธยมศึกษาของโรงเรียนสาธิต ในเขตกรุงเทพมหานครโดยศึกษาจากเอกสาร  งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและสอบถามการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนสาธิตในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 8 แห่ง จำนวน 370 คนด้วยแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.924 การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา  ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ตอนที่ 2 สร้างรูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดกิจกรรมการศึกษาโดยนำข้อมูลที่ได้จากตอนที่ 1 มาจัดสนทนากลุ่มกับผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 คน  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา  ตอนที่ 3 ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของ รูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดกิจกรรมการศึกษา ที่เป็น ผู้บริหาร ครูผู้สอน และผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนสาธิตประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) จำนวน 290 คน ด้วยแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับมีค่าความเชื่อมั่นด้านความเหมาะสม 0.950 และด้านความเป็นไปได้ 0.967 การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบแบบทีกลุ่มตัวอย่างเดียว ผลการวิจัย ปรากฏ  ดังนี้


  1. ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการศึกษาระดับมัธยมศึกษาของโรงเรียนสาธิต โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง

  2. รูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดกิจกรรมการศึกษาระดับมัธยมศึกษาของโรงเรียนสาธิต ในเขตกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 8 ด้าน ได้แก่ ด้านการตัดสินใจ ด้านการอบรมเลี้ยงดู ด้านการจัดการเรียนรู้ที่บ้าน ด้านการร่วมมือกับชุมชน ด้านการอาสาสมัคร ด้านการติดต่อสื่อสาร ด้านการเป็นผู้ประสานงานระดมทรัพยากรทางการศึกษา และด้านการให้ความเห็นเกี่ยวกับนโยบายและการบริหารจัดการ

  3. รูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดกิจกรรมการศึกษาระดับมัธยมศึกษาของโรงเรียนสาธิต ในเขตกรุงเทพมหานครมีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากและสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Article Details

How to Cite
ขันธ์เจริญ ว., ดิสถาพร ช., บุญธิมา ร., & บูรศิริรักษ์ ส. (2016). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดกิจกรรมการศึกษา ระดับมัธยมศึกษาของโรงเรียนสาธิต ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 15(3), 75–81. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/122642
บท
บทความวิจัย

References

[1] ประเวศ วะสี. (2555,31 กรกฎาคม ). จุดเปลี่ยนมหาวิทยาลัยไทย -จุดเปลี่ยนประเทศไทยโพสต์ทูเดย์ ปี 10 (ฉบับที่ 3463) น. 2

[2] พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2554.(2553) กรุงเทพ ฯ : ครุสภาลาดพร้าว

[3] สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.2544. การพัฒนาเครือข่ายการจัดการศึกษาโดยครอบครัวในสังคมไทย.กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.

[4] กุลยา ตันติผลาชีวะ. 2551. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : เบรน – เบส บุ๊คส์.

[5] Morrison,G.2000.Early Childhood Education Today. 2nd ed. Toronto: Merrill Publishing.

[6] สว่างจิต โค้วบุญงาม 2548 . การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน มหาวิทยาลัยศิลปากร.

[7] Epstein, J.L.; Sander, M.G. 1996. School, Family, Community Partnerships : Overview and New Directions in Education and Sociology : An Encyclopedia. New York Garland.

[8] Daniel U.L.; Rayne, F.L. 1996. Home Environment, The Family and Cognitive Development Society and Education. 9th ed. New York: Simon & Schuster.

[9] สราวดี เพ็งศรีโคตร. 2554. รูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาปฐมวัย.ปริญญานิพนธ์ การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาการศึกษาและการพัฒนาสังคม.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

[10] อภิชาตนันท์ อนันนับ, ภัคพงศ์ ปวงสุข และปิ่นมณี ขวัญเมือง.2554. การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนวิชาเกษตรในชั้นมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 3. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม 11(1), น. 29-39.
Ananag, A., Poungsuk, P. & Kwanmuang, P. 2011. Status Quo of lntegrated lnstruction on Sufficiency Economy Philosophy through Agricultural Subject in Secondary Schools, the office of Bangkok Educational Service Region 3. Journal of Industrial Education. 11(1), p. 29-39.

[11] วิวรรณ สารกิจปรีชา. 2554. ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้ปกครองกับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนในโรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่.วิทยานิพนธ์การศึกษามหา บัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

[12] Coots ,J.J.(1998).Family resources and parent participation in schooling activitiesfor Their children with development delays. Journal of Special Education, 31(4), p. 498-520.

[13] สมรัก ภาชีทรัพย์.2548. การนำเสนอรูปแบบการบริหารและการจัดการอาชีวศึกษาระบบไตรภาคีในสถานศึกษา.สังกัดสถาบันอาชีวศึกษาภาคกลาง 3.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการบริหารการ ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

[14] สุระพี อาคมคง.2550.รูปแบบความร่วมมือขององค์การบริหารส่วนตำบลในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคเหนือตอนล่าง.ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.