การพัฒนาบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง พื้นฐานการเขียนโปรแกรมวิชชวลเบสิค ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง พื้นฐานการเขียนโปรแกรม วิชชวลเบสิค เบื้องต้น ให้มีคุณภาพ 2) เพื่อพัฒนาบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ที่มีคุณภาพ และประสิทธิภาพ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนด้วยบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเสาไห้ “วิมลวิทยานุกูล” ปีการศึกษา 2559 ได้จากการสุ่มตัวอย่าง แบบกลุ่มมา 2 ห้องเรียน จำนวน 60 คน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ สำหรับการหาประสิทธิภาพของบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน จำนวน 30 คน และสำหรับศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พื้นฐานการเขียนโปรแกรม วิชชวลเบสิค จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน แบบประเมินคุณภาพของบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.27-0.80 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20-0.60 และค่าความเชื่อถือได้เท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติทดสอบที (t-test) แบบ dependent samples ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก ( = 4.53, S = 0.50) 2) บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน มีคุณภาพด้านเนื้อหาในระดับดีมาก (
=4.54, S =0.55) มีคุณภาพด้านเทคนิคในระดับดีมาก (
= 4.57, S =0.50) และมีค่าประสิทธิภาพ E1/E2 =84.08/83.44 และ 3) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง พื้นฐานการเขียนโปรแกรม วิชชวลเบสิค สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] นันทนา หนูช่วย. 2554. คอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับการศึกษา. มหาวิทยาลัยนเรศวรรายวิชา 355582 หัวข้อปัจจุบันทางการศึกษา.
[3] สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. 2550. การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน.กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ.
[4] สุภาวดี ดอนเมือง. 2544. ประสิทธิผลการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักวิชาเคหพยาบาลโรงเรียนอายุรเวท. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์. มหาวิทยาลัย มหิดล.
[5] เยาวลักษณ์ พรมศรี.2551.การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ด้วยการเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้เทคนิคการใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคจิกซอว์ เรื่องอินเทอร์เน็ตเบื้องต้น. วิทยา นิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
[6] ศศิวรรณ ชำนิยนต์. 2552. ผลของการเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักบนเว็บที่มีการช่วยเสริมศักยภาพที่แตกต่างกันที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3.
[7] มนต์ชัย เทียนทอง. “WBI (Web-Based Instruction) WBT (Web-Based Training).” วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา, 13(37): น.72-78.
[8] ไพโรจน์ ตีรณธนากุล ไพบูรณ์ เกียติโกมลและเสกสรรแย้มพานิจ. 2546. การออกแบบและการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์การสอนสำหรับe-Learning. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ.
[9] ชัยยงค์ พรหมวงศ์.2545.เอกสารประกอบการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีการศึกษาหน่วยที่ 1-5. กรุงเทพฯ: สำนักเทคโนโลยีทางการศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
[10] พิศิษฐ ตัณฑวณิช.2557.แนวคิดการจำแนกพฤติกรรมการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์การจัดการศึกษาด้านพุทธิพิสัยตามแนวคิดของบลูมและคณะฉบับปรับปรุง. วารสารมหาวิทยาลัย ราชภัฏลำปาง, 3(2), น. 13-25.
[11] ทวิพงศ์ ศรีสุวรรณ.2553.การจัดการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐานบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ วิชา ฟิสิกส์ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
[12] กิตติพงศ์ ณ นคร.2553.การสร้างบทเรียนออนไลน์ผ่านระบบการจัดการเรียนรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL)เรื่องระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์. บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระ จอมเกล้าธนบุรี.
[13] มนัสวี ธนะปัด. 2558. การพัฒนาชุดจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่องการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม.
[14] ปิ่นนภา นวลคล้าย. 2556. การพัฒนาบทเรียนออนไลน์โดยการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา วิชาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สำหรับนักศึกษาประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูงปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิตสาขาวิชาครุศาสตร์เทคโนโลยีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
[15] ประจักษ์ ปราโมทย์. 2554. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านอินเทอร์เน็ต เรื่องการสร้างหุ่นยนต์ ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบการใช้ปัญหาเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหา บัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมพระนครเหนือ.