การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการสร้างโมเดลกระดาษ สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ในทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง

Main Article Content

มนัสวี สว่างตระกูล
พรรณี ลีกิจวัฒนะ
ไพฑูรย์ พิมดี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการสร้างโมเดลกระดาษของนักเรียนให้มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ในทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง  ภาคเรียนที่  2  ปีการศึกษา  2558  จำนวน 50 คน โดยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการสร้างโมเดลกระดาษ  แบบประเมินคุณภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการสร้างโมเดลกระดาษ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.67-1.00 ค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.40-0.83  ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20-0.53 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบสองกลุ่มไม่เป็นอิสระต่อกัน


ผลการวิจัยพบว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องการสร้างโมเดลกระดาษ มีคุณภาพอยู่โดยรวมอยู่ในระดับดี (gif.latex?\bar{x}= 4.45, S = 0.51)  โดยมีคุณภาพด้านเนื้อหาของบทเรียนอยู่ในระดับดี (gif.latex?\bar{x}= 4.36, S = 0.49) ด้านเทคนิคการผลิตสื่อ อยู่ในระดับดีมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.54, S = 0.53)  และมีประสิทธิภาพ E1/E2 = 84.25/82.13 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องการสร้างโมเดลกระดาษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5

Article Details

How to Cite
สว่างตระกูล ม., ลีกิจวัฒนะ พ., & พิมดี ไ. (2016). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการสร้างโมเดลกระดาษ สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ในทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 15(3), 45–52. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/122628
บท
บทความวิจัย

References

[1] ทิศนา แขมมณี. 2557. ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[2] วัชรพล วิบูลยศริน. 2557. นวัตกรรมและสื่อการเรียนการสอนภาษาไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[3] กรมราชทัณฑ์. 2554. แผนทิศทางกรมราชทัณฑ์ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2554-2558). นนทบุรี : โรงพิมพ์ ราชทัณฑ์.

[4] วันทนา เนืองอนันต์. 2555. แนวทางการพัฒนาเรือนจำเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับผู้ต้องขังวัยหนุ่ม. สำนักพัฒนาพฤตินิสัย. กรมราชทัณฑ์.

[5] พรรณี ลีกิจวัฒนะ. 2555. วิธีการวิจัยทางการศึกษา พิมพ์ครั้งที่ 8 พ.ศ. 2555 ปรับปรุงแก้ไข. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

[6] ไพโรจน์ ตีรณธนากุล ไพบูลย์ เกียรติโกมล และเสกสรรค์ แย้มพินิจ. 2546. การออกแบบและการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์การสอนสำหรับ e-learning. กรุงเทพฯ : ศูนย์ส่งเสริมกรุงเทพ.

[7] ชัยยงค์ พรหมวงศ์. 2556. การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), น. 7-19.

[8] จิตราภรณ์ บัวชิต. 2557. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรมฟลิปอัลบัม วิสต้า โปร 7.0 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลบ้านส่อง นางใย. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(2), น. 88-94.

[9] ศิริภรณ์ โทอ่อน. 2556. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบึงสามพันวิทยาคม จังหวัดเพชรบูรณ์. สารนิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

[10] อนุชาติ จุรักษ์. 2554. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การเขียนแบบก่อสร้างด้วยคอมพิวเตอร์. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 10 (ฉบับพิเศษ), น. 157-167.