การพัฒนาตัวบ่งชี้ความรับผิดชอบต่อสังคมด้านจริยธรรมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในสถาบันและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า

Main Article Content

มณฑา พลรักษ์
อภิธีร์ ทรงบัณฑิตย์
สมบูรณ์ บูรศิริรักษ์
อนันต์ มาลารัตน์

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) พัฒนาตัวบ่งชี้ความรับผิดชอบต่อสังคมด้านจริยธรรมของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า และ 2) ทดสอบความสอดคล้องของโมเดลการวัดตัวบ่งชี้ความรับผิดชอบต่อสังคมด้านจริยธรรมของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้ากับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีการดำเนินการวิจัย 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและพัฒนาตัวบ่งชี้ความรับผิดชอบต่อสังคมด้านจริยธรรมของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ดำเนินการโดยการศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมด้านจริยธรรม และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้รู้  ผู้มีประสบการณ์และผู้เกี่ยวข้องกับ การจัดกิจกรรมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 17 คน ขั้นตอนที่ 2 ทดสอบความสอดคล้องของโมเดลการวัดความรับผิดชอบต่อสังคมด้านจริยธรรมของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้ากับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ นักศึกษาในสถาบันและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าทั้ง  3 แห่ง  จำนวน 1,500  คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ  แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมด้านจริยธรรมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มีค่าความเชื่อมั่น  0.90  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  คือ  ค่าเฉลี่ย  ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ  และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันโดยใช้โปรแกรมลิสเรล


ผลการวิจัยพบว่า


  1. ตัวบ่งชี้ความรับผิดชอบต่อสังคมด้านจริยธรรมของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1)  มุมมองที่ถือเอาประโยชน์เป็นสำคัญ มี 3  องค์ประกอบย่อย  40  ตัวบ่งชี้  2) มุมมองปัจเจกบุคคล มี  3  องค์ประกอบย่อย  35  ตัวบ่งชี้  3) มุมมองคุณธรรม มี  3  องค์ประกอบย่อย  37  ตัวบ่งชี้  และ  4)  มุมมองความยุติธรรม มี 3  องค์ประกอบย่อย  38  ตัวบ่งชี้  

  2. โมเดลการวัดตัวบ่งชี้ความรับผิดชอบต่อสังคมด้านจริยธรรมของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า  มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
พลรักษ์ ม., ทรงบัณฑิตย์ อ., บูรศิริรักษ์ ส., & มาลารัตน์ อ. (2016). การพัฒนาตัวบ่งชี้ความรับผิดชอบต่อสังคมด้านจริยธรรมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในสถาบันและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 15(3), 37–44. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/122624
บท
บทความวิจัย

References

[1] Ruggie. J. G., 2002. The theory and Practiceof Learning Networks: Corporate Social Responsibility and Global Compact. The Journal of Corporate Citizenship.(5): 27-36.

[2] สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. 2552. มหาวิทยาลัยกับความรับผิดชอบต่อสังคม (University social responsibility: USR.ค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2558, จากhttps://www.mua.go.th/data_pr/data_sumate_52/Retreat_4.pdf

[3] Hair, Joseph F; et al. (2010). Multivariate Data Analysis :A Global Perspective. 7th ed.Upper Saddle River: Pearson.

[4] อนุพงษ์ วิบูลศิริชัย. 2554. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้และเจตคติของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในประเทศไทย. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 11(1), น.8 -13.

[5] Carroll, A. B., 1991. The Pyramid of Corporate Social Responsibility: Toward the Moral Management of Organizational Stakeholders. Business Horizons, 34(4),P.39 48. Retrieved March 28 2015. Available from: Business Source Complete.

[6] จุฑาทิพย์ ธีรภาค. 2529. วิเคราะห์จริยธรรมในหนังสืออ่านนอกเวลาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการมัธยมศึกษา กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

[7] ยุทธนา วรุณปิติกุล. 2542. สำนึกพลเมือง: ความเรียงว่าด้วยประชาชนบนเส้นทางประชาคม. กรุงเทพฯ: มูลนิธิการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม.

[8] กระทรวงศึกษาธิการ. 2553. แนวทางการพัฒนา การวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

[9] McAlister. D. T. & Ferrell L., 2002.The Role of Strategic Philanthropy in Marketing Strategy. European Journal of Marketing 36(5/6), P.689-705.

[10] Brubacher. J. W.; Case. C. W & Rogan. T. G.(1994). Becoming Reflective Educator: How to build Culture of Inquiry in the Schools. New York: Mc Grar-Hill.

[11] ศิริพร สอาดล้วน. 2551. ความสัมพันธ์ระหว่างความมีวินัยในตนเองกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

[12] Schermerhorn. 2011. Introduction to Management. (11th ed). Asia: John Wiley& Sons.