ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานการจัดการความรู้ของวิทยาลัยเทคโนโลยี และอาชีวศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานการจัดการความรู้ของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานการจัดการความรู้ของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานคร จำนวน 138 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.60-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า สภาพการดำเนินงานการจัดการความรู้ของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร ในภาพรวมมีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานการจัดการความรู้ของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร คือโครงสร้างองค์กร (X4) เทคโนโลยีสารสนเทศ (X3) และวัฒนธรรมองค์กร (X2) สามารถร่วมกันพยากรณ์การดำเนินงานการจัดการความรู้ของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานครได้ร้อยละ 64.50 สามารถเขียนสมการคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้
คะแนนดิบ = .187 + .282(X4) + .331(X3) + .312(X2)
คะแนนมาตรฐาน = .317Z(X4) + .347Z(X3) + .296Z(X2)
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] ภารดร จินดาวงค์. 2549. การจัดการความรู้. กรุงเทพฯ : ซีดับบลิวซีพริ้นติ้ง.
[3] สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. 2546. คู่มือคำอธิบายและแนวทางปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546. กรุงเทพฯ : สิรบุตรการพิมพ์.
[4] สำนักงานมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ. 2557. มาตรฐานการอาชีวศึกษา.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://bsq2.vec.go.th/Assure/standardvec3.ppt (วันที่ค้นข้อมูล 16 พฤษภาคม 2558)
[5] สำนักงานมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ. 2557. มาตรฐานการศึกษาแห่งชาติกับการประกันคุณภาพการศึกษา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://bsq2.vec.go.th/Assure/standardvec4.ppt (วันที่ค้นข้อมูล 23 มิถุนายน 2558)
[6] ศิรินทิพย์ ธิติพงษ์วณิช. 2552. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการความรู้เรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
Titipongvanich, S. 2009. Factors Affecting Knowledge Management of Local Wisdom in Basic Education Schools under the Office of Phetchaburi Educational Service Area 2.Thesis in Educational Administration Graduate School, Phetchaburi Rajabhat University.
[7] รักษ์ วิศุภกาญจน์. 2552. การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการความรู้ของพนักงานฝ่ายปฏิบัติและเครือข่ายสารสนเทศ ธนาคารออมสิน. การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารเทคโนโลยี วิทยาลัยนวัตกรรม, มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.
[8] เครือวัลย์ แย้มปรางค์ พันธุ์ทิพา ยุวทองไทย และ จิระดา แช่มพวงงาม. 2551. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการความรู้ ในสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.
[9] จันทนา สุขธนารักษ์. 2550. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการความรู้ทางการพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาล หัวหน้าหน่วยงานโรงพยาบาล จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
[10] สำนักงาน ก.พ.ร. และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. คู่มือการจัดทำแผนการจัดการความรู้. กรุงเทพฯ: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.
[11] สมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย. 2557. รายชื่อวิทยาลัย กลุ่มภาคกลาง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.samakomarcheewa.or.th/region.php?rid=01. (วันที่ค้นข้อมูล 2 พฤษภาคม 2558)
[12] บุญชม ศรีสะอาด. 2556. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
[13] ธัญลักษณ์ พลายด้วง. 2552. การจัดการความรู้ของพนักงานฝ่ายสนับสนุน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. การศึกษาอิสระการจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.
[14] ไพโรจน์ พงษ์บุผา. 2553. การดำเนินการการจัดการความรู้ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาลำปาง เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.
[15] จงจิต วงษ์สุวรรณ, ธนินท์รัตนโอฬาร และปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันท์. 2558. การวิเคราะห์องค์ประกอบของกระบวนการจัดการความรู้ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(1), น. 91-98.
Wongsuwan, J., Ratanaolarn, T. &Tungkunanan, P. 2015. Factor Analysis of Knowledge Management Process for the Crown Property Bureau.Journal of Industrial Education, 14(1), p. 91-98.
[16] ชวนพิศ ปลูกสร้าง. 2550. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการจัดการความรู้ของกรมอุตุนิยมวิทยา. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.