บทเรียนบนแท็บเล็ต เรื่องอุปกรณ์ควบคุมการเปิด-ปิดวงจร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของบทเรียนบนแท็บเล็ต เรื่อง อุปกรณ์ควบคุมการเปิด-ปิดวงจร วิชาอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม รวมทั้งเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยบทเรียนบนแท็บเล็ต เรื่อง อุปกรณ์ควบคุมการเปิด-ปิดวงจร วิชาอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย นักเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก (อี.เทค) จำนวน 30 คน ระหว่างภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โดยวิธีการเลือกแบบสุ่มเป็นกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย บทเรียนบนแท็บเล็ต เรื่อง อุปกรณ์ควบคุมการเปิด-ปิดวงจร วิชาอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม แบบประเมินคุณภาพและแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของบทเรียนบนแท็บเล็ต เรื่อง อุปกรณ์ควบคุมการเปิด-ปิดวงจร วิชาอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม
ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพของบทเรียนบนแท็บเล็ต เรื่อง อุปกรณ์ควบคุมการเปิด - ปิดวงจร วิชาอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรมที่สร้างขึ้น มีคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก ( =4.54,S.D.=0.42) ประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 81.83/80.92 สอดคล้องกับสมมุติฐานที่กำหนดไว้ ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียน (
=32.37,S.D.=1.13) สูงกว่าก่อนเรียน(
=25.30,S.D.=1.71) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
Makjieo, K. Boonphak, K. & Klinhom, L.2013 The Development of Web Based Instruction on Graphic Creation with Package Program for Nawamintrachinthit Satriwitthaya 2 School.Journal of Industrial Education. 12(1),p.34- 37.
[2] สุรศักดิ์ ปาเฮ. 2555. แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา : โอกาสและความท้าทาย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.kan1.go.th/tablet-for- education.Pdf. (วันที่สืบค้นข้อมูล : 6 ตุลาคม 2558).
[3] รุจโรจน์ แก้วอุไร.2545. หลักการออกแบบบทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอนตามแนวคิดของกาเย่ [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก: https://student.nu.ac.th/fon/gaye.html. (วันที่สืบค้นข้อมูล : 6 ตุลาคม 2558).
[4] ไพโรจน์ ตีรณธนากุล และคณะ. 2546. การออกแบบและผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ การสอนสำหรับE- Learning.กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อ เสริมกรุงเทพฯ.
[5] ชัยยงค์ พรหมวงศ์ และคณะ.2521. ระบบสื่อการสอน. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[6] เอกชัย ศิริเลิศพรรณา . 2556. การพัฒนาบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อทบทวน เรื่องการเคลื่อนที่แบบโมชั่นทวีน.วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม,12(3), น.38-46.
Sirilertpanna, E. 2013. Development of Web Base Instruction for Review on Moving by Motion Tween. Journal of Industrial Education.12(3),p.38-46.
[7] วิลัยพร ไชยสิทธิ์. 2554. การพัฒนาแอพพลิเคชั่น ฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์บนเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1. การค้นคว้าแบบอิสระ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.
[8] เทวัญ กั้นเขตต์ . 2557. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียบนแท็บเล็ต เรื่อง สนุกคิดคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ (คอมพิวเตอร์) คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.