การพัฒนาชุดการสอน เรื่องเครือข่ายการสื่อสาร สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดการสอน เรื่องเครือข่ายการสื่อสาร ที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเครือข่ายการสื่อสาร ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยชุดการสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยเทคนิคธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ที่ศึกษาอยู่ในทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง จำนวน 50 คน ซึ่งได้มาด้วยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ชุดการสอน เรื่องเครือข่ายการสื่อสาร แบบประเมินคุณภาพของชุดการสอน เรื่องเครือข่ายการสื่อสาร และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.67-1.00 ค่าความยากง่าย อยู่ระหว่าง 0.20-0.80 ค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 0.20-0.40 และค่าความเชื่อถือได้ของแบบทดสอบทั้งฉบับ เท่ากับ 0.83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที t-test (Dependent Sample) แบบสองกลุ่มไม่อิสระต่อกัน ผลวิจัยพบว่า 1) ชุดการสอนเรื่องเครือข่ายการสื่อสาร มีคุณภาพโดยรวม อยู่ในระดับดี ( =4.43) มีคุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดีมาก (
= 4.74) และคุณภาพด้านการผลิตสื่ออยู่ในระดับดี (
= 4.20) และชุดการสอน เรื่องเครือข่ายการสื่อสาร มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.04/81.07 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยชุดการสอน เรื่องเครือข่ายการสื่อสารสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] วันทนา เรืองอนันต์. 2555. แนวทางการพัฒนาเรือนจำเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับผู้ต้องขังวัยหนุ่ม. สำนักพัฒนาพฤตินิสัย. กรมราชทัณฑ์.
[3] กรมราชทัณฑ์. 2554. แผนทิศทางกรมราชทัณฑ์ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2554-2558). นนทบุรี: โรงพิมพ์ราชทัณฑ์.
[4] วิทยาลัยเทคนิคธัญบุรี. 2551. ข้อตกลงความร่วมมือ เรื่อง การขยายโอกาสการศึกษา “อาชีวศึกษาสู่ผู้ต้องขัง” ตั้งแต่ พ.ศ. 2551 (เอกสารอัดสำเนา).
[5] วิทยาลัยเทคนิคธัญบุรี. 2557. สมุดบันทึกผลการเรียน และการประเมินผล (วผ.1) ปีการศึกษา 2557 ตั้งแต่ พ.ศ. 2557 (เอกสารอัดสำเนา).
[6] วาสนา ทวีกุลทรัพย์. 2555. เทคโนโลยีและสื่อการสอนและการฝึกอบรม หน่วยที่ 8-15 . นนทบุรี : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
[7] ไพโรจน์ ตีรณธนากุล และคณะ. 2546. การออกแบบและการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์การสอนสำหรับ e-learning. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมกรุงเทพ.
[8] ชัยยงค์ พรหมวงศ์. 2556. การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), น.7-10.
[9] Anderson, L. W., & Krathwohl, D. R. (2001).A taxonomy for learning, teaching, and assessing: A revision of Bloom’s taxonomy of educational objectives. New York: Addison Wesley Longman. [online]. Retrieved from https://sirikanya926.wordpress.com /2014/01/18/blooms-revised-taxonomy-2001.
[10] มนัสวี ธนะปัด. 2558. การพัฒนาชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่องการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, (14)2, น.59-66.
[11] ศิรินภรณ์ ศรีวิไล. 2558. การพัฒนาชุดฝึกความคิดสร้างสรรค์วิชาศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม,14(2), น.67-70.
[12] สุมิตรา ศรีธรรม. 2558. การพัฒนาชุดการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นวิธีเรียนแบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค STAD เรื่อง จำนวนจริง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุบลราชธานี, 5(2), น. 216-231.
[13] รัตตินันท์ กลัดล้อม. 2559. การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT เรื่อง Past Tense สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพรตพิทยพยัต. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.