บทเรียนบนแท็บเล็ต เรื่อง อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำพื้นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของบทเรียนบนแท็บเล็ต เรื่อง อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำพื้นฐาน และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังเรียนด้วยบทเรียนบนแท็บเล็ต เรื่อง อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทำวิจัยคือ ผู้เรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1แผนกอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก(อี.เทค) จำนวน 30 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย บทเรียนบนแท็บเล็ต เรื่อง อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำพื้นฐาน แบบประเมินคุณภาพของบทเรียนบนแท็บเล็ตด้านเนื้อหาและด้านเทคนิคการผลิตสื่อ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ผลการวิจัยพบว่า บทเรียนบนแท็บเล็ต เรื่อง อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำพื้นฐาน มีคุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดีมาก (= 4.63, S.D. = 0.40) และด้านเทคนิคการผลิตสื่อ อยู่ในระดับดี (
= 4.47, S.D. = 0.53) ประสิทธิภาพของบทเรียนบนแท็บเล็ต เรื่องอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำพื้นฐาน เท่ากับ 84.07/83.53 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ E1/E2 ไม่น้อยกว่า 80/80 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนแท็บเล็ต เรื่อง อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำพื้นฐาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
Anukulwech,A. 2013. Competency Based Skill Training on Testing Basic Semiconductor Devices. Master Thesis of Science in Industrial Education (Electrical Communication Engineering) Faculty of Industrial Education King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang.
[2] สุรศักดิ์ ปาเฮ. 2555. แท็บเล็ตเพื่อการศึกษาโอกาสและความท้าทาย. [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก:https://www.kan1.go.th/tablet-for-education. pdf (วันที่สืบค้นข้อมูล: 8 สิงหาคม 2558).
[3] ปรัชญา เนียมทอง และ จงกล แก่นเพิ่ม. 2557. การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์บนแท็บเล็ต เรื่องตัวต้านทานและการอ่านค่าสีสำหรับผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3.[ฉบับอิเล็กทรอนิกส์]. วารสารเทคโนโลยีการศึกษา และมีเดียคอนเวอร์เจนซ์, 1(1),น.99-107.เข้าถึงได้จาก: https://edtech.tsu.ac. th/etmc/ ejournalVol1/ article8_01_2014.pdf(วันที่สืบค้นข้อมูล: 8 สิงหาคม 2558).
[4] ณัฐกร สงคราม. 2553. การออกแบบและพัฒนามัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[5] ชัยยงค์ พรหมวงศ์ และคณะ. 2521. ระบบสื่อการสอน.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[6] นันท์ภัส สิทธิวัฒน์กุลธร อรรถพร ฤทธิเกิด และฉันทนา วิริยเวชกุล. 2558. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยฝึกทักษะเน้นฐานสมรรถนะ เรื่องการประกอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(1),น.185-190.
Sittiwatkulatorn, N. Ridhikerd, A. & Viriyavejakul, C. 2015. Computer - based skill competency on electronics circuit assembly. Journal of Industrial Education,14 (1), p.185-190.
[7] ภัสรา ศรีกลับ. 2557. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่อทบทวน เรื่อง การสร้างเว็บเพจ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ (คอมพิวเตอร์) คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
[8] พรรณี ลีกิจวัฒนะ. 2551. วิธีวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
[9] เทวัญ กั้นเขตต์. 2555. การพัฒนาบทเรียน คอมพิวเตอร์มัลติมีเดียร์บนแท็บเล็ต เรื่องสนุกคิดคณิตศาสตร์สำหรับผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ (คอมพิวเตอร์) คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
[10] นันทรัตน์ กลิ่นหอม เลิศลักษณ์ กลิ่นหอม และฉันทนา วิริยเวชกุล. 2555. การพัฒนาบทเรียน ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการทบทวน เรื่องระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 11(2),น.48-54.
Klinhom, N. Klinhom, L & Viriyavejakul, C. 2012. Development of Web-Based Instruction for Review on Computer Network in Fundamental Information Technology Subject. Journal of Industrial Education, 11 (2), p.48-54.
[11] ภาณุมาศ นักษัตรมณฑล. 2556. การพัฒนา เลิร์นนิ่ง ออบเจ็คต์ วิชาคณิตศาสตร์บนแท็บเล็ต เรื่องรูปสามเหลี่ยม สำหรับผู้เรียนชั้นประถมปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาเทคโนโลยี และสื่อสารการศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.