ต้นทุนคุณภาพ และขีดสมรรถนะที่มีต่อความพร้อมของสหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น ในการเข้าสู่เขตเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว

Main Article Content

ปรียาวดี ผลเอนก
ธนัฎฐ์ตฤณ บุนนาค

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) อิทธิพลของต้นทุนคุณภาพที่มีต่อความพร้อมของสหกรณ์โคนมวังน้ำเย็นในการเข้าสู่เขตเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว และ (2) อิทธิพลของขีดสมรรถนะของสหกรณ์โคนมวังน้ำเย็นที่มีต่อความพร้อมในการเข้าสู่เขตเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ พนักงานสหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น จำนวน 288 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ Multinomial Logistic  Regression ผลการศึกษาพบว่า (1) ต้นทุนคุณภาพมีอิทธิพลต่อความพร้อมของสหกรณ์โคนมวังน้ำเย็นในการเข้าสู่เขตเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 ด้วยโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์นี้ 4.944  เท่า และ (2) ขีดสมรรถนะของสหกรณ์โคนมวังน้ำเย็นมีอิทธิพลต่อความพร้อมของสหกรณ์โคนมวังน้ำเย็นในการเข้าสู่เขตเศรษฐกิจพิเศษสระแก้วอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01  ด้วยโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์นี้ 3.262 เท่า

Article Details

How to Cite
ผลเอนก ป., & บุนนาค ธ. (2016). ต้นทุนคุณภาพ และขีดสมรรถนะที่มีต่อความพร้อมของสหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น ในการเข้าสู่เขตเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 15(2), 131–137. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/122605
บท
บทความวิจัย

References

[1] จังหวัดสระแก้ว. 2558. นโยบายส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว. หนังสือภายนอก. (เอกสารอัดสำเนา).

[2] สหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น. 2558. ประวัติความเป็นมา “สหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น จำกัด” [ออนไลน์]. สืบค้นข้อมูลจาก https://www.wangnamyendairy.com/. (วันที่ค้นข้อมูล 20 พฤศจิกายน 2558)

[3] นพรรณพรรษ นาคหฤทัย วุฒิไกร งามศิริจิตต์ และสรายุทธ กันหลง. 2555. การประยุกต์ใช้หลักการซิกส์ ซิกม่าในบริบทอุตสาหกรรมไทย.วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 11(3), น. 1-9.
Napanpat Nakharuthai, Wuttigrai Ngamsirijit and Sarayuth Kunlong. 2012. Six sigma application in the Thai industry context. Journal of Industrial Education, 11(3), p. 1-9.

[4] ปรียาวดี ผลเอนก. 2556. การจัดการคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[5] Soin, Sarv Singh. 1992. Total Quality Essentials. 2nd ed. New York: McGraw-Hill.

[6] กัลยา วานิชย์บัญชา. 2552. สถิติสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่4. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

[7] รัญชนา สินธวาลัย สนธยา ทวีรัตน และเสกสรร สุธรรมานนท์. 2558. การประยุกต์ใช้ต้นทุนคุณภาพสำหรับโรงงานผลิตปะเก็นสำเร็จรูป [ออนไลน์]. สืบค้นข้อมูลจาก https://www.resjournal.kku.ac.th/scitech/abs/a18_03_13.asp?vol=18. (วันที่ค้นข้อมูล 20 พฤศจิกายน 2558)

[8] ณัฐกา โยคะกุล. 2558. การหาจุดเหมาะสมด้านต้นทุนคุณภาพสำหรับอุตสาหกรรมขนาดกลางและเล็ก: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมการผลิตของขบเคี้ยวสุนัข [ออนไลน์]. สืบค้นข้อมูลจาก https://www.thaithesis.org/detail.php?id=1082546000181. (วันที่ค้นข้อมูล 20 พฤศจิกายน 2558)

[9] ปรียาวดี ผลเอนก. 2558. “ความคิดเห็นของผู้ประกอบการโลจิสติกส์ไทยที่มีต่อมาตรฐานการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน BS8900:2006 ตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”. รายงานวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

[10] Barnes, J. Liao, Y. 2012. The Effect of Individual, Network, and Collaborative Competencies on the Supply Chain Management System. Int. J. Production Economics, 140(2012), p. 888–899.