สภาพและปัญหาการใช้คอมพิวเตอร์ของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดฉะเชิงเทรา

Main Article Content

ทิพย์รัตน์ อากิยวงศ์
ไพฑูรย์ พิมดี
อัคพงศ์ สุขมาตย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการใช้คอมพิวเตอร์ของครู และ 2) เพื่อเปรียบเทียบสภาพการใช้คอมพิวเตอร์ของครู จำแนกตามอายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดฉะเชิงเทรา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 196 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วย 5 ด้าน คือ ด้านเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง ด้านสื่อและซอฟต์แวร์ที่ใช้ ด้านความรู้และทักษะของผู้สอน ด้านวิธีการสอนและการจัดกิจกรรม ด้านการวัดและประเมินผลการเรียน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าทีชนิดสองกลุ่มไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการใช้คอมพิวเตอร์ของครู ทั้งรายด้านและภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ปัญหาการใช้คอมพิวเตอร์ของครู ทั้งรายด้านและภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 3) ครูที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีสภาพการใช้คอมพิวเตอร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ครูที่มีอายุ และประสบการณ์การสอนต่างกัน มีสภาพการใช้คอมพิวเตอร์ไม่แตกต่างกัน

Article Details

How to Cite
อากิยวงศ์ ท., พิมดี ไ., & สุขมาตย์ อ. (2015). สภาพและปัญหาการใช้คอมพิวเตอร์ของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(2), 652–658. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/122587
บท
บทความวิจัย

References

[1] อนุวัฒน์ นาราช. 2551. ปัญหาและความต้องการในการใช้คอมพิวเตอร์ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

[2] วนิดา วงศ์สระคู. 2548. การศึกษาการใช้คอมพิวเตอร์ในการบริหารการศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

[3] สุรพล อินทรสวัสดิ์. 2550. สภาพการใช้คอมพิวเตอร์ของครูโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

[4] อภิวิชญ์ จันทป. 2553. สภาพและปัญหาการใช้คอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ของบุคลากรครูในสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเทศบาลนครอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

[5] สมใจ วงศ์ชาลี. 2550. สภาพและปัญหาการใช้คอมพิวเตอร์ในการบริหารงานวิชาการโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ในจังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

[6] สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. 2556. ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลด้านการศึกษา. ค้นเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2556, จากhttps://www.vec.go.th

[7] ศุภชัย รอยศรี และธีระพล เทพหัสดิน ณ อยุธยา. 2554. สภาพ ปัญหา และความต้องการ การใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ของครู แผนกอิเล็กทรอนิกส์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เขตภาพตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 10(1), น. 254-259.

[8] บรรพต จันทร์แดง. 2551. ปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์ในสถาบันอาชีวศึกษาภาคตะวันออก.วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

[9] ประวิทย์ ไชยเจริญ. 2544. การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนการสอนของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาที่เข้าร่วมโครงการเครือข่าย คอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย ในจังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

[10] ไพศาล พิลาศาสตร์. 2546. การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการบริหารงานในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษาสถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.