การออกแบบและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คุณธรรมและค่านิยมไทยสำหรับการพัฒนาอย่างสมดุลและยั่งยืน เรื่อง ผักสวนครัว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

สุมาลี ชัยเจริญ
อิศรา ก้านจักร
จารุณี ซามาตย์
ปรมะ แขวงเมือง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คุณธรรมและค่านิยมไทยสำหรับการพัฒนาอย่างสมดุลและยั่งยืน ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงพัฒนา (Developmental research) แบบ Type I ซึ่งประกอบด้วย 3 กระบวนการ คือ กระบวนการออกแบบ กระบวนการพัฒนา และกระบวนการประเมิน ผลการวิจัย พบว่า นวัตกรรมการเรียนรู้ฯ มีการออกแบบและพัฒนาโดยอาศัยพื้นฐานกรอบแนวคิดการออกแบบ และนำทฤษฎีสู่การปฏิบัติโดยทำการออกแบบเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ คือ 1) สถานการณ์ปัญหา 2) ศูนย์สารสนเทศ 3) ฐานการช่วยเหลือ 4) การร่วมมือกันแก้ปัญหา 5) ศูนย์ส่งเสริมความพอประมาณ 6) ศูนย์ส่งเสริมความมีเหตุผล 7) ศูนย์ส่งเสริมภูมิคุ้มกัน 8) ศูนย์ส่งเสริมการคิดที่พึงประสงค์ 9) ศูนย์ส่งเสริมคุณธรรม 10) ศูนย์ส่งเสริมเงื่อนไขความรู้ 11) ศูนย์ส่งเสริมเงื่อนไขคุณธรรม 12) ศูนย์สร้างค่านิยม 13) ศูนย์ส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง จากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญ พบว่า นวัตกรรมการเรียนรู้ฯที่คณะผู้วิจัยพัฒนาผลการประเมิน พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับดี  (gif.latex?\bar{x} = 4.48, S.D. = 0.52) และจากการประเมินบริบทการใช้ พบว่า จำนวนผู้เรียน 3 คนต่อกลุ่มในการเรียนด้วยนวัตกรรมการเรียนรู้ฯ มีความเหมาะสม รวมทั้ง พบว่า ช่วยส่งเสริม การสร้างความรู้ และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คุณธรรมและค่านิยมไทยของผู้เรียน และผู้เรียนมีความพึงพอใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการเรียนรู้ฯ ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเรียนตามความต้องการ และช่วยส่งเสริมให้มีความพอประมาณ มีเหตุผลและสามารถปรับตัวได้ในสภาวะต่าง ๆ มีคุณธรรม และมีค่านิยมไทย

Article Details

How to Cite
ชัยเจริญ ส., ก้านจักร อ., ซามาตย์ จ., & แขวงเมือง ป. (2016). การออกแบบและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คุณธรรมและค่านิยมไทยสำหรับการพัฒนาอย่างสมดุลและยั่งยืน เรื่อง ผักสวนครัว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 15(2), 110–117. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/122584
บท
บทความวิจัย

References

[1] สมพร เทพสิทธา. 2548. เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

[2] ณัฐทิญา แก้วพลอย. 2557. ความเชื่อมโยงของการจัดการเรียนการสอนตามแนวพุทธศาสนาและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 13(1), 188-194.
Kaewploy, N. 2014. The Relationships between Learning and Teaching by Means of Buddhist Way and Learning and Teaching by Means of Philosophy of Sufficiency Economy. Journal of Industrial Education, 13(1), p.188-194.

[3] Jonassen, D.H. & Henning, P. 1999. Mental Model: Knowledge in the head and knowledge in the world. Education Technology, 39 (3), p.37-42.

[4] Mayer, R. E. 1992. Cognition and instruction: Their historic meeting within educational psychology. Journal of Educational Psychology, 84, p.405-412.

[5] สุมาลี ชัยเจริญ. 2547. ผลการใช้สื่อบนเครือข่ายร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ วิชา 212 501 เทคโนโลยีการสอน ของนักศึกษาประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู. วารสารนวัตกรรมการเรียนการสอน, 1(3), น.13-21.
Chaijaroen, S. 2004. The Effect of Using Web-Based Learning with Cooperative Learning in Subject 202 501 Instructional Technology of Graduate Diploma Program in Teaching Professional Students, Faculty of Education, Khon Kaen university. Journal of learning and teaching innovation, 1(3), p.13-21.

[6] Richey, R. C., & Klein, J. D. 2007. Design and development research: Methods, strategies and issues. Mahwah, NJ: Lawrence Erlbaum Associates, Publisher.

[7] ไพโรจน์ ศรีรุ่งเรือง. 2545. ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดกิจกรรมตามโครงการเยาวชนคนดีศรีสุพรรณกับคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ของนักเรียน. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

[8] Hannafin, M.J., Land, S., & Oliver, K. 1999. Open Learning Environments: Foundations, methods, and models. In C. Reigeluth (Ed), Instructional-design theories and models (Volume II). Mahwah, NJ: Erlbaum.

[9] สุมาลี ชัยเจริญ. 2557. การออกแบบการสอน: หลักการทฤษฎี สู่การปฏิบัติ. ขอนแก่น: โรงพิมพ์แอนนาออฟเซต.

[10] สุชาติ วัฒนชัย และคณะ. 2550. การออกแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิด. รายงานการวิจัย โครงการวิจัยประเภทอุดหนุนทั่วไป. ขอนแก่น:มหาวิทยาลัยขอนแก่น.