ศึกษาและออกแบบอุปกรณ์เสริมทักษะด้านการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดใหญ่ สำหรับเด็กบกพร่องทางสติปัญญา

Main Article Content

วรางคณา กรเลิศวานิช
ทรงวุฒิ เอกวุฒิวงศา
อภิสักก์ สินธุภัค

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาและออกแบบอุปกรณ์เสริมทักษะด้านการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดใหญ่ สำหรับเด็กบกพร่องทางสติปัญญาโดยเน้นการออกแบบอุปกรณ์ให้เกิดแรงจูงใจสำหรับเด็กบกพร่องทางสติปัญญาเพื่อนำไปสู่การเสริมทักษะด้านการเคลื่อนไหว กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กบกพร่องทางสติปัญญา ศูนย์การศึกษาพิเศษ โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จำนวน 9 คน


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอุปกรณ์เสริมทักษะด้านการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดใหญ่ สำหรับเด็กบกพร่องทางสติปัญญา 2) ออกแบบอุปกรณ์เสริมทักษะด้านการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดใหญ่ สำหรับเด็กบกพร่องทางสติปัญญา 3) ประเมินความพึงพอใจจากครูผู้สอนที่มีต่ออุปกรณ์เสริมทักษะด้านการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดใหญ่ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เด็กบกพร่องทางสติปัญญา ศูนย์การศึกษาพิเศษ โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Standardized or Structured Interview)  2) การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non-Participant Observation) 3) แบบสอบถามความคิดเห็นด้านการออกแบบอุปกรณ์เสริมทักษะด้านการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดใหญ่ สำหรับเด็กบกพร่องทางสติปัญญา และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่ออุปกรณ์เสริมทักษะด้านการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดใหญ่ สำหรับเด็กบกพร่องทางสติปัญญา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\small&space;\bar{X}) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)


ผลการวิจัยสรุปว่า 1) อุปกรณ์เสริมทักษะด้านการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดใหญ่ สำหรับเด็กบกพร่องทางสติปัญญา คือ อุปกรณ์ที่ฝึกในเรื่องของการยืน การเดิน การก้าวขึ้นบันไดและการเดินบนกระดานทรงตัว 2) การออกแบบอุปกรณ์เสริมทักษะด้านการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดใหญ่ สำหรับเด็กบกพร่องทางสติปัญญา ผู้วิจัยได้ออกแบบอุปกรณ์เสริมทักษะด้านการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดใหญ่มา 3 รูปแบบ โดยด้านการใช้งานรูปแบบที่ 2 มีความเหมาะสมมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับเหมาะสมมาก มีค่า  (gif.latex?\small&space;\bar{X}=4.29) และด้านความสวยงามรูปแบบที่ 3 มีความเหมาะสมมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับเหมาะสมมาก มีค่า  (gif.latex?\small&space;\bar{X}=4.23)  3) การประเมินความพึงพอใจของอุปกรณ์เสริมทักษะด้านการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดใหญ่ สำหรับเด็กบกพร่องทางสติปัญญา โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนเด็กบกพร่องทางสติปัญญา สรุปได้ว่าอุปกรณ์เสริมทักษะด้านการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดใหญ่ สำหรับเด็กบกพร่องทางสติปัญญา มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับเหมาะสมมาก มีค่า (gif.latex?\small&space;\bar{X}=4.58)

Article Details

How to Cite
กรเลิศวานิช ว., เอกวุฒิวงศา ท., & สินธุภัค อ. (2015). ศึกษาและออกแบบอุปกรณ์เสริมทักษะด้านการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดใหญ่ สำหรับเด็กบกพร่องทางสติปัญญา. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(2), 638–644. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/122580
บท
บทความวิจัย

References

[1] กลุ่มงานกุมารเวชศาสตร์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี. 2556. คู่มือการดูแลเด็กกลุ่มอาการดาวน์ สำหรับพ่อแม่/ผู้ปกครอง/บุคลากรทางการแพทย์. กรุงเทพฯ : วี พลัส กรุ๊ป.

[2] ชมรมพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก. 2554. ตำรา พัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก สำหรับเวชปฏิบัติทั่วไป. กรุงเทพฯ: บียอนด์เอ็นเตอร์ไพรซ์.

[3] สำนักงานคณะกรรมการสถิติแห่งชาติ. 2554. สถิติจากสำนักงานสถิติแห่งชาติสำรวจคนพิการ. ค้นเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2557, จากhttps://service.nso.go.th/nso/nso_center/project/search_center/23project-th.htm

[4] พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์. 2556. ทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[5] อุดมศักดิ์ สาริบุตร. 2549. เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์

[6] หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษากระทรวงศึกษาธิการ. 2535. การประเมินทักษะเพื่อสำรวจพัฒนาการ 0-7 ปี.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา.

[7] จตุรงค์ เลาหะเพ็ญแสง. 2556. การศึกษาแนวทางบูรณาการฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในประเทศไทยกับการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรครุศาสตร์การออกแบบระดับอุดมศึกษา. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 12(1), น. 56-63.