ศึกษาการใช้แท็บเล็ตเพื่อการจัดการเรียนรู้ของครู โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี

Main Article Content

มินตรา ใจดี
บุญจันทร์ สีสันต์
ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการใช้แท็บเล็ตเพื่อการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี และเพื่อเปรียบเทียบการใช้แท็บเล็ตเพื่อการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี  จำแนกตามเพศ อายุ ประสบการณ์การสอนโดยใช้แท็บเล็ต และสาขาวิชาที่สำเร็จการศึกษาของครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ครูผู้สอนระดับประถมศึกษาปีที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี  ภาคเรียนที่  2  ปีการศึกษา  2556  จำนวน  191  คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.60-1.00 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานโดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที ค่าความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบ Kruskal-Wallis test  ผลการวิจัยพบว่า ครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี มีการใช้แท็บเล็ตเพื่อการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบการใช้แท็บเล็ตเพื่อการจัดการเรียนรู้โดยภาพรวมพบว่า ครูที่มีเพศ อายุ ประสบการณ์การสอนโดยใช้แท็บเล็ต และสาขาวิชาที่สำเร็จการศึกษาของครูที่แตกต่างกัน มีการใช้แท็บเล็ตเพื่อการจัดการเรียนรู้ไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ครูที่มีประสบการณ์การสอนแตกต่างกัน มีการใช้แท็บเล็ตเพื่อการจัดการเรียนรู้ด้านการควบคุมกำกับและช่วยเหลือกลุ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับที่ .05

Article Details

How to Cite
ใจดี ม., สีสันต์ บ., & ตั้งคุณานันต์ ป. (2015). ศึกษาการใช้แท็บเล็ตเพื่อการจัดการเรียนรู้ของครู โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(2), 622–629. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/122575
บท
บทความวิจัย

References

[1] สุรศักดิ์ ปาเฮ. 2554. แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา: โอกาส และความท้าทาย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.kan1.go.th/tablet-for-education.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล: 1 กุมภาพันธ์ 2556).

[2] ยืน ภู่วรวรรณ. 2550. การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://yuwadeeenglishka.blogspot.com/2007/09/blog-post_18.html. (วันที่ค้นข้อมูล: 2 กุมภาพันธ์ 2556).

[3] ไพฑูรย์ ศรีฟ้า. (2554, 4 กันยายน). เปิดโลก Tablet สู่ทิศทางการวิจัยด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา: จากแนวคิดสู่ กระบวนการปฏิบัติ. เอกสารประกอบการบรรยาย ณ มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดสงขลา. (เอกสารอัดสำเนา).

[4] ทิศนา แขมมณี. 2552. ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการวัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[5] ศูนย์พัฒนาหลักสูตร กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. 2543. การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ.

[6] สำนักงานกรรมการกฤษฎีกา. 2542. พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก https://onesqa.or.th/. (วันที่ค้นข้อมูล 16 พฤษภาคม 2556).

[7] ณัฐพร ทองศรี. 2555. ความตั้งใจใช้แท็บเล็ตของครูผู้สอนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราชเขต 3 การ ประยุกต์ใช้ตัวแบบการยอมรับเทคโนโลยี. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และระบบ สารสนเทศ คณะสถิติประยุกต์ สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์.

[8] สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอ่างทอง. 2555. ศึกษาความพร้อมของโรงเรียน ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน ในการ ใช้คอมพิวเตอร์พกพา (Tablet) เพื่อการเรียนการสอนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก www.atg.obec.go.th/p-otpc/1-5.doc. (‎วันที่ค้นข้อมูล: 25 มกราคม 2557).

[9] ธีระภัทร ประสมสุข และคณะ. 2555. รูปแบบการใช้ แท็บเล็ตพี ซีเพื่อยกระดับคุณภาพนักเรียนใน โรงเรียนขนาดเล็ก. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

[10] สาโรช โศภีรักข์. (2547, 3-6 กุมพาพันธ์ 2547). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาของ ครูเกียรติยศในประเทศไทย. เอกสารประกอบการประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 42 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ. (เอกสารอัดสำเนา)

[11] พนิดา น้อยศรี. 2549. ปัจจัยในการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาของครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การ ศึกษาลพบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

[12] อัญญารัตน์ ใบแสง. 2552. ปัจจัยที่ผลต่อการยอมรับเทคโนโลยี 3G ของผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในเขตกรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

[13] Bruner, Jerome S., Goodnow, Jacqueline J. and Austin, George A. 1956. A Study of Thing. New York: John Wiley & Sons.

[14] ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์. 2556. บทวิจารณ์หนังสือ เรื่อง อัธยาตมวิทยา. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 12(2), น. 6-9.