แนวทางการออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์เพื่อสื่อรสชาติ รูปลักษณ์ ของผลิตภัณฑ์น้ำผึ้ง กลุ่มยุวเกษตรกรบ้านชุมยาง อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาบุคลิกภาพที่เหมาะสมสำหรับผลิตภัณฑ์น้ำผึ้ง และเพื่อกำหนดแนวทางการออกแบบกราฟิก ที่สื่อถึงรสชาติ รูปลักษณ์ของผลิตภัณฑ์น้ำผึ้ง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริโภคในพื้นที่จังหวัดอุทัยธานี และจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 246 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดย การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและอภิปรายผลด้วย Chi-Square Tests ซึ่งผลการวิจัยพบว่า ด้านการหาบุคลิกภาพที่เหมาะสมสำหรับผลิตภัณฑ์น้ำผึ้ง ได้แก่ บุคลิกภาพแบบตามอัธยาศัย โดยวิเคราะห์จากประมวลภาพ (Image planning) การสร้างกระดานปัจจัยความคิด (Mood board) และจากการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค ด้านการกำหนดแนวทางการออกแบบกราฟิกพบว่า โทนสี และ ภาพประกอบบนบรรจุภัณฑ์สามารถช่วยแยกแยะรสชาติได้ ช่วยให้มองหาผลิตภัณฑ์ที่ต้องการได้เร็วขึ้น และ ช่วยให้คาดเดาได้ถึงรสชาติของผลิตภัณฑ์ได้โดยผ่านรูปแบบตัวอักษร และการจัดองค์ประกอบที่สามารถสื่อถึงบุคลิกภาพของผลิตภัณฑ์ได้ โดยที่คัดเลือกแบบตัวอักษรแบบตัวเขียน และ ใช้การจัดองค์ประกอบการจัดเนื้อหาแบบจัดกลาง ซึ่งประกอบด้วย ลักษณะตัวอักษร และภาพประกอบ
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] เดลินิวส์.2556. หนุนน้ำผึ้งไทยก้าวไกลสู่ตลาดโลก.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://m.dailynews.co.th/ (วันที่ค้นข้อมูล : 7 มิถุนายน 2558).
[3] Shigenobu Kobayashi.1991 ,color image scale 2 nd .Japan: Kodansha International.
[4] เฉลิมทศพล เจริญสุข.2537.แนวคิดการออกแบบบรรจุภัณฑ์.,กรุงเทพฯ : เพชรกะรัต จำกัด.
[5] ธเนศ ภิรมย์การ.2557.ศึกษาและออกแบบบรรจุภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา เกาะเกร็ด.วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 13(1). น.146-153.
Piromgarn.T. 2014. Study and CeramicDevelopment Packaging for Koh Kred.Journal of Industrial Education,13(1). p.146-153.
[6] ทิพวรรณ มะโฮงคำ และคณะ. 2555. การศึกษาและพัฒนาภาพลักษณ์และรูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อของผู้บริโภค : กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์ชุมชน ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่ยา ในโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา.วารสารวิชาการศิลปะสถาปัตย์กรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร ,3(1). น.50-62.
Mahongkum.T etal..2012. Study and develop product identity and packaging which influence consumer’s purchasing decision: A case study of community products of the One Tambon One Product project in Amphoe Meung Nakhonrahasima Province. Art and Architecture Journal Naresuan University,3(1). P.50-62.
[7] ทิพย์รัตน์ พำขุนทด.2555.ศึกษาและออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์เพื่อสื่อรสชาติรูปลักษณ์และคุณภาพของผลิตภัณฑ์เบเกอรี่: กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ค้าส่ง. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทยสาขาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และศิลปะ,32 (2), น. 85-7
Phumkuntod,T. 2012. Study and Design Graphic on Packages to Communicate Flavor,Appearance, and Qualities of Bakery Product:A Case Study of Wholesale Bakery. Silpakorn University Journal, 32 (2), p. 85-97
[8] ชมจันทร์ ดาวเดือน และคณะ.2557.ผลการรับรู้ของผู้บริโภคที่มีต่อการออกแบบโครงสร้างและกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางสมุนไพรไทย.วารสารวิชาการศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร,5(2). น.86-102.
Dowduen.D etal. 2014. Effects of Consumers’ Perception of Structure and Graphic Designs upon Thai Herbal Cosmetic Packages. Art and Architecture Journal Naresuan University, 5(2). P. 86-102.