วัสดุจากเส้นใยปาล์มน้ำมัน เพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์

Main Article Content

ปฐมพงษ์ ณ ตะกั่วทุ่ง
อุดมศักดิ์ สาริบุตร
ทรงวุฒิ เอกวุฒิวงศา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาวัสดุจากเส้นใยปาล์มน้ำมัน เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยมีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อพัฒนาวัสดุใหม่ให้มีประสิทธิภาพสามารถนำไปใช้ในงานออกแบบผลิตภัณฑ์ 2) เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ จากวัสดุเส้นใยปาล์มน้ำมันที่พัฒนาใหม่ 3) เพื่อประเมินประสิทธิภาพ ผลิตภัณฑ์จากวัสดุเส้นใยทางปาล์มน้ำมันที่พัฒนาใหม่ 4)ประเมินผลความพึงพอใจของผู้ผลิต ผู้จำหน่าย และ ผู้บริโภค ผลิตภัณฑ์ จากเส้นใยปาล์มน้ำมันที่พัฒนาใหม่ ปาล์มน้ำมันเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีการปลูกเป็นอย่างมากในประเทศไทย จากการสำรวจ มีพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 5.45 ล้านไร่ และการวิเคราะห์พบว่า ปาล์มน้ำมันมีการใช้ประโยชน์เพียงส่วนเดียว คือ ผล แต่ในส่วนประกอบอื่น ๆ ของต้นไม่มีการใช้ประโยชน์ เฉพาะทางของปาล์มน้ำมัน ซึ่งเป็นส่วนที่ต้องตัดทิ้งทุกครั้ง ที่มีการเก็บผลผลิต


จากผลการวิจัยพบว่า เส้นใยที่พบในส่วนต้นปาล์มน้ำมัน สามารถลอกออกเป็นเส้นและนำไปผลิตเป็นวัสดุ โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1) ต้มเพื่อลอกเนื้อเยื่อ 2) การรีดเส้นใย 3) การควั่นเส้นใย 4) การสานเส้นใย เพื่อใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ จากการสอบถามผู้ใช้ผลิตภัณฑ์จากสันใยปาล์มน้ำมัน พบว่ามีความพึงพอใจในด้านรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเส้นใยปาล์มอยู่ในระดับ เหมาะสมมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.20, ค่าเบี่ยงเบน = 0.74) ด้านลักษณะเฉพาะของเส้นใยปาล์มน้ำมันในการนำมาใช้งานมีค่าอยู่ในระดับ เหมาะสมมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.40, ค่าเบี่ยงเบน = 0.40)  ดังนั้นจากการทดลองตามกรอบแนวคิดในด้านการประยุกต์ใช้วัสดุมีความเหมาะสมกับการออกแบบผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับ เหมาะสมมาก(ค่าเฉลี่ย = 4.40, ค่าเบี่ยงเบน = 1.11) จึงมีผลต่อความต้องการของกลุ่มผู้บริโภค ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ ไปจนถึงกระบวนการผลิต การใช้งาน ทั้งนี้การนำวัสดุจากเส้นใยปาล์มน้ำมันมาใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้ดีและ ผ่านการทดสอบค่าแรงดึง ค่าความเหนียว ความความหดตัว  ตามมาตรฐานการทดสอบ ของสถาบันสิ่งทอ สามารถนำไปใช้จริงได้

Article Details

How to Cite
ณ ตะกั่วทุ่ง ป., สาริบุตร อ., & เอกวุฒิวงศา ท. (2015). วัสดุจากเส้นใยปาล์มน้ำมัน เพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(2), 613–621. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/122569
บท
บทความวิจัย

References

[1] ศูนย์วิจัยพืชสวนสุราษฎร์ธานี. 2532. คู่มือปาล์มน้ำมัน. โครงการวิจัยและพัฒนาปาล์มน้ำมัน. สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการ เกษตร.กรมส่งเสริมการเกษตร.

[2] พรชัย เหลืองอาภาพงศ์. 2549. คัมภีร์ปาล์มน้ำมัน พืชเศรษฐกิจเพื่อบริโภคและอุปโภค. กรุงเทพฯ : มติชน.

[3] สุรกิตติ ศรีกุล ภิญโญ มีเดช และชาย โฆรวิส. 2546. เอกสารแนะนำการปลูกและดูแลรักษาสวนปาล์มน้ำมัน. ศูนย์วิจัยสวน สุราษฎร์ธานีสำนักวิจัยและพัฒนาเกษตรเขต 7.

[4] ชนัญชิดา ยุกติรัตน์. 2557. แนวคิดในการออกแบบ ผลิตภัณฑ์หัตถกรรม. กรุงเทพฯ : กวิกัส โอเอ

[5] กองส่งเสริมพืชไร่นา. 2537. คู่มือทางวิชาการเรื่องปาล์มน้ำมัน.โครงการส่งเสริมและพัฒนาปาล์มน้ำมันกรมส่งเสริมการเกษตร.

[6] สถาพร ดีบุญมี ณ ชุมแพ. 2550. ผลขอเทคโนโลยีต่อการออกแบบ. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์

[7] ธเนศ ภิรมย์การ.ศักดิ์ชาย สิกขา.และทรงกลด จารุสมบัติ. 2556. การพัฒนาวัสดุจากพืชวงศ์หญ้าร่วมกับเศษวัสดุจาก เกษตรกรรมเพื่อประยุกต์ใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 12(2), น.69-76

[8] อุดมศักดิ์ สาริบุตร. 2549.เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.