ตัวแปรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพการสอนของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา 2) ศึกษาตัวแปรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนครูของโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือครูระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 10 ปีการศึกษา 2557 ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 96 ข้อ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาของทุกข้อคำถามอยู่ระหว่าง 0.60 - 1.00 และค่าอำนาจจำแนกในส่วนของข้อคำถามของตัวแปรเจตคติวิชาชีพครู ทดสอบด้วยสถิติ t-test พบว่าทุกข้อคำถามมีค่า t มากกว่า 1.96 แสดงว่าทุกข้อคำถามสามารถจำแนกได้ ส่วนค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามของตัวแปรด้านสัมพันธภาพระหว่างครูกับนักเรียน ด้านบรรยากาศในการเรียนการสอน ด้านบุคลิกภาพของครู ด้านขวัญและกำลังใจของครู ด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ด้านเจตคติวิชาชีพครู เท่ากับ 0.860, 0.883, 0.937, 0.725, 0.874 และ 0.886 ตามลำดับ และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามประสิทธิภาพการสอนของครูทั้งฉบับอยู่ที่ 0.973 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบปกติ
ผลการวิจัย พบว่า 1) ประสิทธิภาพการสอนของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 10 อยู่ในระดับมาก ( = 4.15) 2) ตัวแปรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 10 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 คือตัวแปรด้านสัมพันธภาพระหว่างครูกับนักเรียน (X1) ด้านบรรยากาศในการเรียนการสอน (X2) ด้านบุคลิกภาพของครู (X3) ด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน (X5) และด้านเจตคติวิชาชีพครู (X6) โดยสามารถร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 51.50
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] สุวิมล ว่องวานิช. 2554. การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน.พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[3] วนิดา อธิกิจไพบูลย์. 2552. ความพึงพอใจของนักเรียนนักศึกษาต่อคุณภาพการสอนของครูวิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
[4] พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2550. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 119 ,ตอนที่ 123 ก ฉบับกฤษฎีกา. (อัดสำเนา).
[5] สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10.2557. วิสัยทัศน์และพันธกิจ. ค้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม2557, จาก https://www.sesa10.go.th/sesa10/index.php/vision
[6] สุภัทรา ภมร. 2553. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนภาษาอังกฤษของครูช่วงชั้นที่ 1-2 ในโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสงคราม.วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.
[7] ศุภชัย สว่างภพ. 2554. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับประสิทธิภาพการสอนของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 3 จังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการวิจัยการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
[8] พิริยะ ทองมนต์. 2552. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการสอนของครู กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามุกดาหาร.วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
[9] นิเลาะ แวอุเซ็ง. 2551. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครูในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. รายงานวิจัย. วิทยาลัยอิสลามศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
[10] พรรณี ลีกิจวัฒนะ. 2553. วิธีการวิจัยทางการศึกษา.กรุงเทพฯ: มีน เซอร์วิส ซัพพลาย.
[11] สุวรรณา อินทร์น้อย. 2553. ความพึงพอใจต่อการเรียนของนักศึกษาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมสถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม,9(2), น.88-103.
[12] พิกุล ถิตย์อำไพ. 2548. ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการสอนของครูคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษา จังหวัด กาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการวัดผลการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
[13] วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี. 2557. ลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์. ค้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2557, จากhttps://th.wikipedia.org/wiki