ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง การประยุกต์สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

ปกรชัย เมืองโคตร
เดช บุญประจักษ์
พรสิน สุภวาลย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง การประยุกต์สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว  2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน  เรื่อง การประยุกต์สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวกับเกณฑ์ร้อยละ 75 ประชากรเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  โรงเรียนมัธยมสาธิตวัดพระศรีมหาธาตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ปีการศึกษา 2556 จำนวน 180 คน  กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 45 คน  ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์  ดำเนินการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูลโดยทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการทดลอง  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติทดสอบที


ผลการวิจัยพบว่า1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเรื่อง การประยุกต์สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว สูงกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง การประยุกต์สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ไม่สูงกว่าร้อยละ 75  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
เมืองโคตร ป., บุญประจักษ์ เ., & สุภวาลย์ พ. (2015). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง การประยุกต์สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(2), 568–575. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/122527
บท
บทความวิจัย

References

[1] เบญจพร สว่างศรี. 2554. การพัฒนาชุดการเรียนรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับรูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับ ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 13(2), น. 23.

[2] วรณัน ขุนศรี. แบบรูปความสัมพันธ์และฟังก์ชัน (Pattern,Relation and Function). วารสารคณิตศาสตร์, 45(512 - 514), น.36 – 45.

[3] สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ. 2551. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551. กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

[4] สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. 2555. ค่าสถิติพื้นฐานคะแนนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2555. ค้นเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2555. จาก https://www.niets. or.th/uploadfile/5/371f1b3becb7870d1eb40e3d46ef0ac.pdf

[5] ชมนาด เชื้อสุวรรณทวี. 2542. การสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

[6] จุมพต ขำวีระ. 2538. การพัฒนาชุดการสอนเพื่อพัฒนาสมรรถภาพในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนประถมศึกษาปี ที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

[7] วิชัย วงษ์ใหญ่. 2542. พลังการเรียนรู้ในกระบวนทัศน์ใหม่. กรุงเทพฯ: เอสอาร์พริ้นติ้ง.

[8] รุ่ง แก้วแดง. 2543. ปฏิวัติการศึกษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: มติชน.

[9] ปานวรี ยงยุทธวิชัย. 2548. การอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์. กรุงเทพฯ: ธารอักษร.

[10] ยุพิน พิพิธกุล. 2539. การเรียนการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.

[11] วาสนา ภูมี. 2555. ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning)เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ที่มีต่อ ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

[12] Barrows, Haward S. and Tamblyn, Poblyn M. 1980. Problem –Based Learning: An pproach to Medical Education.New York: Springer Publishing Company.

[13] รังสรรค์ ทองสุกนอก. 2547. ชุดการเรียนการสอนที่ใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem- Based Learning) เรื่อง ทฤษฎี จำนวนเบื้องต้นของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.

[14] พวงรัตน์ ทวีรัตน์. 2539. วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

[15] สุนทรี คนเที่ยง. 2544. การจัดการเรียนการสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษา. วารสารข่าวสารกองบริการการศึกษา, 12(1), น. 10 -19.

[16] Bloom, Benjamin S. 1976. Taxonomy of education objectives handbook 1 : Cognitivedomain. New York : David MacKay Company.

[17] เพ็ญศรี พิลาสันต์. 2551. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการจัด กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวิธีปกติ. วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

[18] Illinois Mathematics and Science and Academy. 2001. Introduction to Problem Based Learning. Retrieved May 25, 2008, from : https://pbln.imsa.edu/model/intro/index.html

[19] สุวิทย์ มูลคำและอรทัย มูลคำ. 2545. 19 วิธีจัดการเรียนรู้ : เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

[20] ชัยศักดิ์ ลีลาจรัสกุล. 2543. เอกสารคำสอนรายวิชา หลักสูตรและการสอนคณิตศาสตร์. โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒปทุมวัน.